การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชวิถี

ผู้แต่ง

  • สุพัฒศิริ ทศพรพิทักษ์กุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลราชวิถี
  • นิรัชรา ก่อกุลดิลก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลราชวิถี
  • คำพอง คำนนท์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลราชวิถี
  • ณัฐชยา ตรีศักดิ์ศรีสกุล นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลราชวิถี

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแลแบบบูรณาการ, ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง, ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

     การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดการดูแลแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชวิถี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง 90 คน และพยาบาลวิชาชีพ/นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการจัดการดูแลแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสังเกตการปฏิบัติการพยาบาล แบบทดสอบความรู้ และแบบบันทึกข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน 2567- มกราคม 2568 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ และสถิติที

     ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นมี 3 ช่องทาง ได้แก่ 1) กู้ชีพนเรนทรโรงพยาบาลราชวิถี  2) ผู้ป่วยมาเอง/ญาติ และ 3) รับย้าย ภายหลังการใช้รูปแบบฯ ด้านผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยได้รับการทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาทีสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วย PPCI ภายใน 90 นาที และได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 30 นาที ก่อนและหลังการใช้รูปแบบฯ พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ด้านผู้ให้บริการ พบว่า การคัดแยกผิดพลาดลดลงและความรู้เรื่อง ผู้ป่วย STEMI สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และความพึงพอใจของผู้ให้บริการต่อการใช้รูปแบบฯ อยู่ในระดับมาก (M = 4.44, SD = .62)

     จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพสามารถนำรูปแบบฯ ไปใช้เป็นแนวทางสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพของการดูแลผู้ป่วย STEMI

References

American Heart Association [AHA]. (2025). 2025 Heart disease and stroke statistics at-a-Glance. Retrieved from https://www.heart.org/en/-/media/PHD-Files-2/Science-News/2/2025-Heart-and-Stroke-Stat-Update/2025-Statistics-At-A-Glance.pdf?sc_lang=en

Bernard, R. (2000). Fundamentals of biostatistics (5th ed.). New York: Duxbury Press.

Bloom, B. S. (1975). Taxonomy of education. New York: David McKay.

Choudhury, T., West, N. E., & El-Omar, M. (2016). ST elevation myocardial infarction. Clinical Medicine, 16(3), 277-282.

Donabedian, A. (1996). Tracing the foundations of conceptual framework for patient safety ontology a evaluating the quality of medical care. Milbank Mem Fund Q, 44(3), 166-206.

Furtado, R. H., Nicolau, J. C., & Berwanger, O. (2020). Systems of care for ST-segment elevation myocardial infarction: Challenges and opportunities. Global Heart, 15(1), 43.

Hina, A., Christopher, F., Rehan A. K., & Steven, M. (2024). Acute ST-segment elevation myocardial infarction (STEMI). Retrieved from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30335314/

Ibanez, B., James, S., & Agewall, S. (2018). 2017 ESC guidelines for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation. European Heart Journal, 39(2), 119-177.

Keawdoungtean, S. (2020). The effects of nursing care for clinical nursing practice guideline to acute ST elevation myocardial infarction patients at Khoksamrong hospital. Singburi Hospital Journal, 29(1), 81-92. [In Thai]

Khotnarin, C., & Keerathikhajorn, W. (2023). Development of provincial nursing network for acute ST-segment elevation myocardial infarction (STEMI) patients. Journal of Medicine and Health System Management of Khon Kaen Hospital, 1(2), 99-107. [In Thai]

Mahaboonpiti, P., Siritarungsri, B., & Banyati, P. (2017). The Development of care management model for patients with acute myocardial infarction, Cha Am Hospital, Phetchaburi Province. Journal of Nursing and Health Science, 11(3), 128-137. [In Thai]

Mahdjoubi, D. (2009). Four types of R & D. Texas: Research Associate IC2 Institute.

Ministry of Public Health. (2025). Thai ACS registry Retrieved from https://www.ncvdt.org/Default.aspx. [In Thai]

Patra, P. (2012). Sample size in clinical research the number we need. International Journal of Medical Science and Public Health, 1(1), 5-9.

Sahmaae, N., Phutkeaw, S., & Khanbo, K. (2021). The development of case management model in patients with acute myocardial infarction based on muslim context, Naradhiwasrajanagarindra Hospital. Princess of Naradhiwas University Journal, 14(1), 63-79. [In Thai]

Senuphai, W., Techato, P., & Damnoi, S. (2019). Development of a clinical nursing practice guideline for the acute ST elevation myocardial infarction patients in emergency department, Songklanagarind Hospital. Princess of Naradhiwas University Journal, 11(3), 63-79. [In Thai]

Srisakhot, K., & Thipwat, S. (2018). Development of case management model with ST-segment elevation myocardial infarction receiving thrombolytic drugs. Journal of Nursing and Health Care, 16(3), 232-242. [In Thai]

Suwansri, P. (2024). The development of screening nursing practice for patients with acute myocardial infraction at Kham Muang hospital, Kalasin province, Thailand. Journal of Health and Environment Education, 9(1), 729-736. [In Thai]

Swansburg, R. C., & Swansburg, R. J. (2002). Introduction to management and leadership for nurse manager (3rd ed.). Bostone: Jone & Bartlett.

The Heart Association of Thailand under The Royal Patronage of H. M The King. (2020). Thai acute coronary syndromes guidelines 2020. Samut Prakan: Nextstep D-Sign Limited Partnership. [In Thai]

Wongpimoln, B., Phemphul, C., Prachanpol, J., & Sittisena, N. (2023). Nursing care model for safety in STEMI patients receiving percutaneous coronary intervention, PCI, at Roi Et hospital. Journal of Nursing and Health Care, 41(1), 1-16. [In Thai]

World Health Organization [WHO]. (2010). Framework for action on interprofessional education & collaborative practice. Geneva, Switzerland: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2025

How to Cite

ทศพรพิทักษ์กุล ส., ก่อกุลดิลก น., คำนนท์ ค., & ตรีศักดิ์ศรีสกุล ณ. (2025). การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชวิถี. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 33(1), 63–79. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/273801