ผลของโปรแกรมการใช้สื่อเพลงสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลองต่อความรู้และการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพ ความดันโลหิต และความผาสุกในชีวิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • ชลธิชา จันทคีรี กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

โปรแกรมการใช้สื่อเพลงสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลอง, ความรู้, การปฏิบัติตนในการดูแลตนเอง, ความผาสุกในชีวิต, ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง, Health folk songs and Thai wand exercise, knowledge, health behavior, hypertension, well-being, elderly

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง  เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการใช้สื่อเพลงสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลอง ต่อความรู้และการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพ ความดันโลหิต และความผาสุกในชีวิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 ราย โดยให้ลักษณะของกลุ่มตัวอย่างมีความใกล้เคียงกันหรือเหมือนกัน ได้แก่ เพศ อายุ ความดันโลหิต ระยะเวลาการเป็นโรคความดันโลหิตสูง และการได้รับการรักษาด้วยยา  กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการใช้สื่อเพลงสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลองครั้งละ 45 นาที ต่อเนื่องกันสัปดาห์ละ  3 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมออกกำลังกายรำไม้พลองตามปกติ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมการใช้สื่อเพลงสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลอง  แบบวัดความรู้และการปฏิบัติตนในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง  และแบบวัดความผาสุกในชีวิตของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติการทดสอบค่าทีแบบเป็นอิสระต่อกัน และสถิติการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน

     ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ การปฏิบัติตนในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และความผาสุกในชีวิตหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม และผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีความดันซีสโตลิคและไดแอสโตลิค ลดลงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงเพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

The Effects of Using Health Folk Songs and Thai Wand  Exercise  Training  Program on Knowledge and Health Behaviors, Blood  Pressure and Well-being of  Hypertensive  Elderly

     This  quasi-experimental  research aimed to examine  the effectiveness  of  health  folk songs  and Thai Wand  exercise  training  program on knowledge   and  health  behaviors, blood  pressure  level  and  well-being  of  hypertensive  elderly.  Sixty  subjects  were  the  elderly  with  hypertension  who  live  in Seansuk  Municipality,  Muang District, Chonburi  Province. The subjects  were  simple  random  sampling   into  two groups, experimental  and control group with 30  persons  in each group, matched by sex, age, blood pressure , period of  illness and  antihypertensive drugs used. Subjects in the experimental group performed health folk songs and Thai Wand  exercise  training  45  minutes  per session, three times per week  for eight weeks, while those in control group  received routine exercise. Research instruments  consisted of  the health folk songs and Thai Wand  exercise  training   program,  questionnaires  to collect  knowledge and behavior  and well-being  measurement. Data were analyzed  by  descriptive  statistics  and  independent  t-test  and  dependent  t-test.

     The result showed  that  the mean score of   knowledge   and  health  behaviors, blood  pressure  level  and  well-being  of  hypertensive  elderly  in the experimental group were  higher  than before  intervention . The  mean score of  both  systolic and diastolic  pressure level in the experimental group were  decrease  lower  than before intervention, with a statistically significant level of  .05.  These  result  can be used to health  promote for the elderly with hypertension to be able  to  care  for  themselves  more  effectively.