ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส อาจารย์ กลุ่มวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สายใจ พัวพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ดวงใจ วัฒนสินธ์ อาจารย์ กลุ่มวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ภาวะสุขภาพจิต, นึกศึกษาพยาบาล, ปัจจัยนำ, ปัจจัยกระตุ้น, แหล่งทรัพยากรในการเผชิญปัญหา, Mental Health Status, Nursing Students, predisposing factors, precipitating factors, coping resources

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 1 ถึง 4 ปีการศึกษา 2556 โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 247 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม 8 ชุด คือ (1) สัมพันธภาพในครอบครัว (2) สัมพันธภาพกับเพื่อน (3) สัมพันธภาพกับอาจารย์ (4) เหตุการณ์ที่สร้างยุ่งยากใจในชีวิต (5) ความฉลาดทางอารมณ์ (6) การมองโลกในแง่ดี (7) การสนับสนุนทางสังคม และ (8) ภาวะสุขภาพทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น (hierarchical multiple regression)

ผลการวิจัย พบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์และสามารถทำนายภาวะสุขภาพจิต คือ ความฉลาดทางอารมณ์ (r = -.129, p<.05) ปัญหาข้อจำกัดด้านการเรียน (r = .045, p<.05)ปัญหาด้านการเงิน (r = .039, p < .05) ปัญหาด้านการเงิน (r = .039, p<.05) และปัญหาด้านวิชาเรียน (r = .029, p<.05) และสามารถร่วมพยากรณ์ภาวะสุขภาพจิตในนักศึกษาพยาบาล ได้ร้อยละ 24.4 (R2= .244, p < 0.01) จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลการส่งเสริมสุขภาพจิตสามารถทำได้โดยการส่งเสริมแหล่งทรัพยากรในการเผชิญปัญหา โดยเฉพาะความฉลาดทางอารมณ์ ให้นักศึกษามีคุณลักษณะดี เก่ง และสุข ผู้บริหารและคณาจารย์ควรให้ความสำคัญและช่วยเหลือแหล่งสนับสนุนด้านการเงิน รวมถึงการบริหารจัดการทางการศึกษาที่ลดข้อจำกัดทางการเรียนและเพิ่มความน่าสนใจและเห็นคุณค่าในวิชาเรียน เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลมีภาวะสุขภาพจิตที่ดีต่อไป

 

Factors Influencing Mental Health Status among Nursing Students

The purpose of this research was to study the prediction of mental health status in nursing students. 247 nursing students, year 1-4 in 2013 academic year, were selected by using stratified random sampling method. There were eight self evaluation questionnaires which comprised of (1) family relationship survey form (2) friend relationship survey form (3) teacher relationship survey form (4) Negative Event Scale (5) Emotional Quotients Scale (6) Revised Life Orientation Test (7) Social Support Scale and (8) General Health Questionnaires: GHQ. Data were analyzed by descriptive statistic, Pearson’s correlation coefficient, and hierarchical multiple regression.
         

Result demonstrated that the significant factors which correlated and predicted mental health status including emotional intelligence (r = -.129, p < .05), limitation of studying (r = .045, p < .05), financial problem (r = .039, p < .01), problem with studying (r = .029, p < .05). The percentage of total variance explained by these factors among nursing students was 24.5 (R2 = .244, p < 0.01). The results of this study demonstrated the significant factors influencing nursing students’ mental health status. Coping resource would be nurtured to promote mental health. Especially, the strengthening of emotional intelligence would promote the “good, smart, and happy” qualities of them. Financial problems would be recognized and supported by administrators and teachers for financial aid resources. Academic management would be concerned to lighten the limitation of studying, catch student’s interesting, and appreciate the lesson learned in order for promoting nursing students’ mental health.

Downloads