การตายดีตามการรับรู้ของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วย

ผู้แต่ง

  • วัลภา คุณทรงเกียรติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การตายดี, สมาชิกครอบครัวผู้ป่วย, Good Death, Family Member

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาของไฮเดกเกอร์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายการตายดีตามการรับรู้ของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วย ผู้ให้ข้อมูลเป็นสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยที่พักรักษาในโรงพยาบาล 3 แห่ง จังหวัดชลบุรี เลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 15 คน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 ถึงเดือนเมษายน 2557 โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตและการสะท้อนคิด วิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนของ Cohen, Kahn & Steeves (2000) ผลการศึกษาพบประเด็นหลักเกี่ยวกับการตายดีตามการรับรู้ของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยรวม 6 ประเด็น คือ การตายอย่างสงบ การยอมรับการตายที่จะเกิด การได้อยู่กับครอบครัว การกลับไปตายที่บ้าน ศาสนาคือที่ยึดเหนี่ยวและการดูแลด้วยใจ

ผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งถึงการตายดีตามการรับรู้ของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยทำให้พยาบาลสามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและส่งเสริมให้เกิดการตายดี


Good Death as Perceived by the Patients' Family Members

A qualitative research based on Heideggerian phenomenology aimed to describe good death as perceived by the patients’ family members. Fifteen informants who were family members of the patients at three hospitals in Chonburi province were purposively selected. Data were collected by in-depth interview, observation and critical reflection. Cohen, Kahn and Steeves’s (2000) step guided data analysis. Six themes of good death as perceived by the patients’ family members emerged, which were peaceful death, acceptance of impending death, being with family members, death at home, religion as refuge, and caring with a heart. This findings provide deep understanding of good death as perceived by the patients’ family menbers. It can be the basic foundation for nurses to improve quality of care for promoting good death in terminally ill patients

Downloads