คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เป็นโรคพาร์กินสัน

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ กูลจีรัง อาจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • นารีรัตน์ สังวรวงษ์พนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, โรคพาร์กินสัน, Quality of Life, Elderly, Parkinson's Disease

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน จำนวน 80 ราย ที่มารับการรักษา ณ คลินิกโรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคพาร์กินสันระยะที่ 1-3 ระหว่างเดือนเมษายน ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (PDQ8) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 71.53 ปี (SD = 7.48) ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.8 มีระดับความรุนแรงของโรคพาร์กินสันในระยะที่ 3 มีคุณภาพชีวิตโดยรวมระดับอยู่ในปานกลาง (M = 12.25, SD = 7.19) เมื่อพิจารณาคุณภาพชีวิตรายด้าน 8 ด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตด้านการเคลื่อนไหวในระดับน้อย (M = 2.73, SD = 1.56) ส่วนคุณภาพชีวิตด้านแหล่งสนับสนุนทางสังคม (M = 0.34, SD = 0.76) และความรู้สึกฝังลึกในใจอยู่ในระดับดี (M = 0.70, SD = 1.29)

ผลจากการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อบุคลากรทางสุขภาพ นักศึกษา และผู้ที่มีความสนใจในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน

 

The Quality of Life the Elderly with Parkinson's Disease

The purposive of this study was to describe the quality of life of the elderly with Parkinson’s disease. The sample were 80 elders with Parkinson’s disease who were diagnosed to be stage 1-3, and health checkup at Parkinson’s disease and Related Disorder Clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital, The Thai Red Cross Society during April-July, 2012. The sample were asked to complete on personal data and Parkinson’s Disease Questionnaires (PDQ8). The data were analyzed by descriptive statistics.

The results showed mean age of this sample was 71.53 years (SD = 7.48), the majority of sample 63.8% had Parkinson’s disease in the 3rd stage. The total quality of life of the elderly with Parkinson’s disease were classified moderate level (M = 12.25, SD = 7.19). Among 8 items under the total Parkinson’s Disease Questionnaire had the highest mean score was mobility (M = 2.73, SD = 1.56), which was poor quality of life. On the other hand, the lowest mean score were social support (M = 0.34, SD = 0.76) and stigma (M = 0.70, SD = 1.29), which were good quality of life.

The results of this study will be used for the health care providers, students and the people who want the basic data for promote quality of life of the elderly with Parkinson’s disease.

Downloads