พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของนิสิตระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • วะนิดา น้อยมนตรี อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • นัยนา พิพัฒน์วณิชชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ, นิสิตระดับปริญญาตรี, Health risk behaviors, baccalaureate students

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของนิสิตระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง สุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 300 คน จากนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 107101 การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของวัยรุ่น (The 2013 Standard Youth Risk Behavior Survey: 2013 Standard YRBS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า นิสิตร้อยละ 50.3 มีดัชนีมวลกายปกติ ร้อยละ 27.4 มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วน ร้อยละ 22.3 มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ 6 ด้านพบว่า 1) พฤติกรรมเสี่ยงด้านความปลอดภัยและความรุนแรง พบว่า นิสิตร้อยละ 9.0 สวมหมวกนิรภัยทุกครั้งเมื่อขับขี่รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 23.3 คาดเข็ดขัดนิรภัยเมื่อใช้รถยนต์ ร้อยละ 26.3 เคยมีความรู้สึกซึมเศร้า ร้อยละ 5.6 เคยพยายามฆ่าตัวตาย ร้อยละ 11.0 เคยมีเรื่องชกต่อย ตบตีกับผู้อื่น ร้อยละ 6.7 เคยพกพาอาวุธ 2) พฤติกรรมเสี่ยงด้านการสูบบุหรี่ นิสิตร้อยละ 40.7 เคยลองสูบบุหรี่ ร้อยละ 9.7 สูบบุหรี่อย่างน้อยหนึ่งมวนทุกวัน 3) พฤติกรรมเสี่ยงด้านการดื่นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติด พบว่า นิสิตร้อยละ 68.7 เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 2.7 ดื่มอย่างน้อย 1 แก้วขึ้นไปเกือบทุกวันหรือทุกวันในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ 4.3 เคยเสพยาบ้า และร้อยละ 1.0 เคยเสพยาอี 4) พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ พบว่า นิสิตร้อยละ 34.3 เคยมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 6.0 มีคู่นอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เมื่อครั้งสุดท้ายที่มีเพศสัมพันธ์ นิสิตร้อยละ 9.3 ไม่ไดใช้ถุงยางอนามัย และร้อยละ 7.6 ดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้ยาเสพติดก่อนการมีเพศสัมพันธ์ 5) พฤติกรรมเสี่ยงด้านการบริโภคอาหาร พบว่า นิสิตเพียงร้อยละ 15.7 เท่านั้นที่รับประทานอาหารเช้าทุกวันร้อยละ 54.0 พยายามลดน้ำหนัก ด้วยวิธีการที่อาจเกิดอันตราย โดยร้อยละ 18.7 อดอาหารเกิน 24 ชั่วโมง ร้อยละ 9.7 รับประทานยาควบคุมน้ำหนักโดยแพทย์ไม่ได้แนะนำ และร้อยละ 6.3 ทำให้ตนเองอาเจียนหรือใช้ยาระบาย 6) พฤติกรรมเสี่ยงด้านการมีกิจกรรมทางกาย พบว่า นิสิต ร้อยละ 56.9 มีการกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่นิสิตร้อยละ 23.3 ไม่มีกิจกรรมทางกายเลย และร้อยละ 32.7 ใช้เวลาในการเล่นวิดีโอเกมส์หรือคอมพิวเตอร์เกมส์ 5 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป

ผลการวิจัยเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้บริหารของมหาวิทยาลัยและผู้ที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญในการวางนโยบาย เพื่อส่งเสริมสุขภาพและลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและความพิการของนิสิต จากผลการวิจัยอาจพอกล่าวได้ว่าโครงการส่งเสริมสุขภาพต่าง ๆ ของทางมหาวิทยาลัย อาทิเช่น การรณรงค์ให้นิสิตและบุคลากรสวมหมวกนิรภัย 100% ยังไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยควรมีการเสริมกลยุทธ์ในโครงการส่งเสริมสุขภาพอื่น ๆ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ

 

Health Risk Behaviors of Baccalaureate Students in a Public University

Wanida Noimontree and Naiyana Piphatvanitcha

The purpose of this cross-sectional descriptive study was to survey health risk behavior among baccalaureate students in a public university. Data were gathered using the 2013 standard Youth Risk Behavior Survey. The 300 participants were recruited by simple random sampling from students who enrolled in 107101 Holistic Health Promotion classes. Data were analyzed using descriptive statistics.

The results revealed that 50.3% of students were normal weight status, 27.4% were overweight of obesity, and 22.3% were underweight. The six categories of students’ health risk behaviors revealed that: 21) the behaviors that contribute to unintentional injuries and violence showed 9.0% of students always wear a helmet when riding a motorcycle, 23.3% wear a seat belt when riding in a car, 26.3% felt depressed, 5.6% attempted suicide, 11.0% experienced a physical fight, and 6.7% carried a weapon: 2) tobacco use: 40.7% of students tried a cigarette, and 9.7% have smoked at least one cigarette a day; 3) alcohol and other drug use: 68.7% of students consumed alcoholic beverages, 2.7% have consumed at least one drink a day or almost every day for the past 30 days, 4.3% used amphetamines, and 1.0% used ecstasy; 4) sexual behaviors that contribute to unintended pregnancy and sexually transmitted disease: 34.3% of students had sexual intercourse, 6.0% have had sexual intercourse with two of more people, 9.3% did not use a condom during their last sexual encounter, and 7.6% of students drank alcoholic beverages of used narcotic drugs before they had sexual intercourse; 5) unhealthy dietary behaviors: only 15.7% of students ate breakfast, 54.0% of students tried to lose weight by inappropriate methods consisting of 18.7% of students went without eating for 24 hours or more, 9.7% took diet pills without a doctor’s advice, and 6.3% vomited of took laxatives; and 6) physical inactivity: 56.9 of students were physically active. Whereas, 23.3 of students were not physically active, and 32.7% have played video games of computer games five of more hours a day.

These findings should be used to promote students’ health behaviors. The university administrator and relevant persons should pay greater attention to these priority health risk behaviors that might be causes of death of disability among students. Based on these study results, some of health promotion programs such as 100% using helmet may be not working well. Further health promotion strategies are needed to address in order to be a health promotion university.

Downloads