ผู้สูงอายุที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ : การดูแลด้านจิตสังคม

ผู้แต่ง

  • วัชรา ตาบุตรวงศ์ อาจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พรชัย จูลเมตต์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, เครื่องช่วยหายใจ, จิตสังคม, การดูแล, Elderly, mechanical ventilation, psychosocial, caring

บทคัดย่อ

ผู้สูงอายุที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจมีสาเหตุมาจากภาวะหายใจล้มเหลวซึ่งเป็นภาวะที่มีระดับออกซิเจนต่ำและมีคาร์บอนไดออกไซด์สูงในกระแสเลือดซึ่งเป็นผลมาจากการแลกเปลี่ยนก๊าซไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ภาวะหายใจล้มเหลวนี้ส่งผลต่อผู้สูงอายุทำให้ต้องได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอและทำให้การหายใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่ใช้เครื่องช่วยหายใจมีประเด็นทางด้านจิตสังคมที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่สำคัญ ได้แก่ ความวิตกกังวล ความทุกข์ทรมาน ความรู้สึกยากลำบากในการติดต่อสื่อสาร ความรู้สึกกลัวและความรู้สึกต้องการตายให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทรมาน พยาบาลและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุที่ใช้เครื่องช่วยหายใจต้องให้ความสนใจประเด็นทางด้านจิตสังคมดังกล่าวนี้โดยการให้การดูแลและช่วยเหลือด้านจิตสังคมแก่ผู้สูงอายุที่ใช้เครื่องช่วยหายใจมีคุณภาพส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความสุขสบายในขณะใช้เครื่องช่วยหายใจ


Elderly Received Mechanical Ventilation: Psychosocial Caring Aspect

Watchara Tabootwong and Pornchai Jullamate

The elderly receiving mechanical ventilation results from respiratory failure which is low level of oxygen and high level of carbon dioxide in blood stream resulting from impaired gas exchange to meet the bodys needs. Respiratory failure leads the elderly to receive mechanical ventilation. It is a medical device assisting the elderly to get sufficient oxygen supply and improve for their better breathing. Several important psychosocial issues emerge during receiving mechanical ventilation; for instance, anxiety, suffering, feeling of difficulty in communication, fear, and need of death for liberating from suffering. Nurses and other relevant personnel should pay more attention on these psychological issues by providing suitable nursing interventions according to elderly’s need. This may bring in quality of nursing care resulting I comfort of elderly during receiving mechanical ventilation

Downloads