ผลของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST ยกสูง

ผู้แต่ง

  • สุวดี เขียวสะอาด พยาบาลวิชาชีพ ระดับชำนาญการพิเศษ หัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลสิงห์บุรี
  • ทองเปลว ชมจันทร์ พยาบาลวิชาชีพ ระดับชำนาญการพิเศษ หัวหน้าหอผู้ป่วยหนัก 2 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
  • สัญญา โพธิ์งาม พยาบาลวิชาชีพ ระดับชำนาญการ โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการดูแล, ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจ, ตายเฉียบพลัน, Nursing practics guidelines, acute myocardial, Infarction Patients

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผลลัพธ์ (out-comes research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST ยกสูง (ST elevate myocardial infarction: STEMI) ต่อความรู้ของพยาบาลวิชาชีพระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลจนได้รับผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (door to EKG time) และได้รับยาละลายลิ่มเลือด (door to Needle time) จำนวนวันนอนในหอผู้ป่วยหนัก จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลและอัตราตายในโรงพยาบาลโดยใช้กรอบแนวคิดของ Donabedian เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยนอก งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน หอผู้ป่วยหนักหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤต หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงและหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย จำนวน 80 คน 2) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST ยกสูง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ 2.1) กลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ จำนวน 33 ราย เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2554 และ 2.2) กลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติฯ จำนวน 35 ราย การเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ถึงเดือนกันยายน 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) คู่มือการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST ยกสูง 2) คู่มือการดูแลตนเองของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST ยกสูงมีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .85 และ .87 ตามลำดับ 3) แบบทดสอบความรู้ของพยาบาลวิชาชีพมีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .82 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติทดสอบค่าทีและไคสแควร์

ผลการวิจัย พบว่า

1. คะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST ยกสูง ของพยาบาลวิชาชีพหลังได้รับการสอนแนวปฏิบัติฯ สูงกว่าก่อนการได้รับการสอนแนวปฏิบัติฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= 10.43, p < .001)

2. ระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลจนได้รับผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (door to EKG time) และระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลจนได้รับยาละลายลิ่มเลือด (door to needle time) ในกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติฯ ต่ำกว่ากลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= 9.08, p < .001) และ (t = 9.70, p < .001) ตามลำดับ

3. จำนวนวันนอนในหอผู้ป่วยหนักของกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติฯ ต่ำกว่ากลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.35, p = .025)

4. จำนวนวันนอนในโรงพยาบาล ระหว่างกลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติฯ และกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติฯ ไม่แตกต่างกัน (t = 1.45, p = .059)

5. อัตราตายของกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติฯ ต่ำกว่ากลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 = 15.2, p = .043)

ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST ยกสูงในโรงพยาบาลที่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้

 

Effects of Nursing Guidelines for Myocardial Infarction on Outcomes of STEMI Patients

Suvadee Keawsaead, Thongplew Chomjan and Sanya Pongam

The purpose of the outcomes of this research was to evaluate and study the effects of nursing practice guidelines for STEMI patients typed ST (ST elevate myocardial infarction: STEMI) to the knowledge of registered nurses, the duration of the arrival time to the hospital until time of the door of EKG, the door to the needle time, length of stay in the intensive care unit, length of stay in the hospital, and the hospital mortality rates. Denabedian’s theory was used to be the research framework. The samples were divided into 2 groups: 1) The registered nurses performed their duties at OPD, emergency department, medical department, intensive care unit. The sample groups were selected according to the include criteria. The sample consisted of 80 registered nurses. 2) The STEMI patients typed ST were divided into 2 sub-groups: 2.1) Thirty three patients who were cared by the routine nursing care were collected the data from the medical record during October 2010 to September 2011. 2.2) Thirty five patients who were cared by the nursing practice guidelines were collected the data from the medical record during October 2011 to September 2012. The research instrument were the nursing guidelines handbook for the STEMI patients typed ST, the self-care handbook of the STEMI patients typed ST which had the content validity index .85 and .87, respectively. The knowledge test for registered nurses had the content validity index .82 and the reliability was .81 Data were analyzed by using descriptive statistic, t-test, and chi-square.

The results were as follows:

1. The post-test scores of registered nurses’ knowledge were statistically significant higher than the pre-test scores (t = 10.43, p < .001).

2. The average of door to EKG time and the average of door to drug (streptokinase) time in the prospective group were statistically significant lower than the retrospective group (t = 9.08, p < .001 and t = 9.70, p < .001, respectively).

3. The average length of stay in ICU in prospective group was statistically significant lower than the retrospective group (t = 2.35, p = .025).

4. The average length of stay in the hospital of prospective group was statistically significant lower than the retrospective group (t = 2.45, p = .059).

5. The mortality rate in prospective group was statistically significant lower than the retrospective group (X2 = 15.2, p = .043).

The study should be applied to improve the quality of care in STEMI patients.

Downloads