ผลของการจัดการกับความปวดอย่างมีแบบแผนต่อความปวด และความพึงพอใจในการจัดการกับความปวดของผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง ณ โรงพยาบาลชลบุรี

ผู้แต่ง

  • อังคณา จงเจริญ อาจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สิริกร เทียนหล่อ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลชลบุรี

คำสำคัญ:

การจัดการความปวดอย่างมีแบบแผน, ผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง, ความปวด, ความพึงพอใจ, Planned pain management, patients with abdominal surgery, pain, satisfaction

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการกับความปวดอย่างมีแบบแผนต่อความปวดและความพึงพอใจในการจัดการกับความปวดของผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้องที่โรงพยาบาลชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทางช่องท้องโดยไม่มีการบาดเจ็บระบบอื่นร่วม และได้รับการผ่าตัดในเยื่อบุช่องท้องและบริเวณลำไส้แบบเร่งด่วน ร่วมกับได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 – สิงหาคม พ.ศ. 2555 จำนวน 60 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยผู้ป่วย 30 ราย เป็นกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลเพื่อจัดการความปวดตามปกติ และอีก 30 ราย เป็นกลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามแผนกการจัดการความปวดหลังผ่าตัดช่องท้องที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินความปวดหลังผ่าตัด แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการจัดการความปวดหลังผ่าตัด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยประเมินระดับความรุนแรงของความปวด เมื่อครบ 24, 48 และ 72 ชั่วโมง หลังผ่าตัดสัมภาษณ์ความพึงพอใจในการจัดการความปวดเมื่อครบ 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำและการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เมื่อครบ 24 และ 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ไม่แตกต่างกัน (p > .05) ขณะที่คะแนนความปวดเมื่อครบ 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัดของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F(2,116) = 950.553, p < .001) และพบว่ากลุ่มทดลองมีความพึงพอใจในการจัดการความปวดมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 6.92, p < .001)

ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดการความปวดในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องแบบเร่งด่วนต่อไป โดยการจัดการความปวดควรคำนึงถึงกลุ่มผู้ป่วย กลุ่มผู้ใช้แนวปฏิบัติ และบริบทของโรงพยาบาล และการจัดการความปวดจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้นั้น ต้องเกิดจากความพึงพอใจของทั้งผู้ปฏิบัติงานและผู้ป่วย

 

The Effects of Planned Pain Management on Pain and Satisfaction with Pain Management of Patients with Abdominal Surgery at Chonburi Hospital

Angkana Chongjarearn and Sirikorn Teanlow

The purpose of this quasi-experimental research was to study the effects of planned pain management on pain and satisfaction with the pain management that patients with abdominal surgery received at Chonburi Hospital. The sample was 60 abdominal trauma patients (with-out trauma in any other organ systems) who had urgent intraperitoneal and intraintestinal operation and received general anesthesia. The data collection was conducted between August 2011 to August 2012. The sample was selected according to inclusion criteria. Thirty patients were the control group who were cared according to a typical pain management plan and other thirty patients were the experimental group who were cared according to a pain management plan which was developed by the researcher. The instruments were demographic data form, pain after surgery assessment form, patients’ satisfaction assessment in pain management form. The patients’ pain intensity levels were assessed in 24, 48 and 72 hours after surgery. The satisfaction with the pain management was interviewed after 72 hours of surgery. Data were analyzed using descriptive statistics repeated measures ANOVA ant t-test.

The results showed that 24 and 48 hours after surgery, the average pain score for both control and experimental groups were not significantly different (p > .05). However, the average pain score of the experimental group at 72 hours after surgery was less than that of the control group with statistical significance at the .05 level (F(2,116) = 950.553, p < .001). Fur-thermore, it was found that 72 hours after surgery, the experimental group had higher satisfaction in pain management than the control group with statistical significance at the .05 level (t = 6.92, p < .001).

The results of this study can be used as a guideline for pain management in the urgent abdominal surgery case. In order to apply the planned pain management, the patients, practitioners and the context of the hospital should be taken into consideration. The most efficient pain management should occur with practitioners’ and patients’ satisfaction.

Downloads