ปัจจัยทำนายความว้าเหว่ของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชน
คำสำคัญ:
ความว้าเหว่, การเจ็บป่วยเรื้อรัง, ผู้สูงอายุ, loneliness, chronic illness, elderlyบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย เพื่อศึกษาอำนาจในการทำนายของปัจจัยด้านอายุ สัมพันธภาพในครอบครัว ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคม ต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคใดโรคหนึ่ง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคอัมพาตหรืออัมพฤกษ์ และโรคหลอดเลือดสมองตีบ ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 110 ราย ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์สัมพันธภาพในครอบครัว การรับรู้ภาวะสุขภาพ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง การสนับสนุนทางสังคมและความว้าเหว่ มีค่าความเที่ยงตามวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .91, .70, .92, .83, .96 และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความว้าเหว่อยู่ในระดับปานกลาง (= 54.04, SD = 5.39) อายุ สัมพันธภาพในครอบครัว และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สามารถร่วมทำนายความว้าเหว่ของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชน ได้ร้อยละ 46.2 (R2 = .462, p <.01) โดยตัวแปรที่สามารถทำนายความว้าเหว่ของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังสูงสุด คือ สัมพันธภาพในครอบครัว (Beta = -.300, p <.01) รองลงมาได้แก่ อายุ (Beta = -.265, p <.01) และ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (Beta = -.185, p <.05) ตามลำดับ
ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและทีมสุขภาพที่ปฏิบัติงานในชุมชน ควรหาแนวทางในการป้องกันความว้าเหว่ของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชน โดยการส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัว และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ
Factors Predicting Loneliness among Elderly with Chronic Illness Living in Community
The purpose of this research was to determine the predictive factors of age, family relation, perceived health status, activity of daily living, self-esteem and social support on loneliness among elderly with chronic illness living in community. A multistage random sampling method was used to recruit 110 samples of aged 60 old. Those samples were diagnosed by physician that at least one chronic illness for example hypertension diabetes mellitus heart disease and stroke living in Si Maha Phot Amphoe Prachin Buri Province. The interview questionnaires included the Family Relation, the Perceived Health Status, the Barthel ADL Index, the Self-Esteem Scale, the Social Support, and the UCLA Loneliness Scale. The Cronbach’s alpha coefficient of the questionnaires were .91, .70, .92, .83, .96 and .81, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and multiple regression analysis.
The results of the study showed that the mean score of loneliness at a moderate level (= 54.04, SD = 5.39). Age, family relation, and self-esteem significantly predicted loneliness and explained 46.2% of the variance (p < .01). The most influencing factors to loneliness were family relation (Beta = -.300, p < .01) followed by age (Beta = .265, p < .01) and self-esteem (Beta = -.185, p < .05), respectively.
The finding is recommended that nurses and health team personnel should concern the prevention loneliness among elderly with chronic illness living in community by promoting family relation and self-esteem of the elderly.