ประสบการณ์ภาวะเศร้าโศกของภรรยาที่สามีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยวิกฤต: การปฏิบัติตามวิถีพุทธเพื่อการเยียวยา

ผู้แต่ง

  • สิริวรรณ นิรมาล อาจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วราภรณ์ คงสุวรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • กิตติกร นิลมานัต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

ประสบการณ์เศร้าโศก, คู่สมรสไทยพุทธ, ผู้เสียชีวิตจากการเจ็บป่วยวิกฤต, Grief Experiences, Thai Buddhist spouses, dead Patients from critical illness

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายประสบการณ์ภาวะเศร้าโศกของภรรยาที่สามีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยวิกฤต โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฎการณ์วิทยาแบบเฮอร์เมนิวติกซ์ ผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คู่สมรสไทยพุทธของผู้ป่วยวิกฤตและตายจากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในจังหวัดสงขลาจำนวน 15 ราย ซึ่งเป็นภรรยาของผู้ที่เสียชีวิต เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลจากการถอดเทปตามวิธีการของ แวน มาเนน ผลการวิจัยพบว่า ความหมายของประสบการณ์ทั้งหมดแบ่งได้เป็น 12 กลุ่มความหมายหลักซึ่ง “การปฏิบัติตามวิถีพุทธเพื่อการเยียวยา” เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มความหมายของภาวะเศร้าโศกที่คู่สมรสไทยพุทธของผู้เสียชีวิตจากการเจ็บป่วยวิกฤต ประกอบไปด้วย 2 ประเด็นย่อยคือ 1) การปฏิบัติตามวิถีพุทธอย่างสม่ำเสมอ และ 2) การทำความเข้าใจความจริงของชีวิต ซึ่งการปฏิบัติตามวิถีพุทธอย่างสม่ำเสมอ มี 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) ทำบุญ ตักบาตร 2) ศึกษาธรรมะ 3) สวดมนต์และนั่งสมาธิ

ผลการวิจัยที่ได้สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลให้แก่พยาบาล และบุคลากรทางสุขภาพในการติดตาม และดูแลคู่สมรสไทยพุทธของผู้เสียชีวิตจากการเจ็บป่วยวิกฤตในโรงพยาบาล และสามารถใช้การปฏิบัติตามวิถีพุทธในการแนะนำบุคคลไทยพุทธที่มีการสูญเสียเพื่อเป็นการเยียวยาให้คลายทุกข์ในระยะเศร้าโศก

 

Grief Experiences of Thai Buddhist Wives of Dead Patients from Critical Illness : Practicing Buddhism Ways for Self-Healing

This hermeneutic phenomenological study aimed to describe grief experiences of This Buddhist wives of dead patients from critical illness. Fifteen Thai Buddhist wives were participants. Data were collected by using individual in-depth interview. Van Manen’s approach was modified for data analysis. The findings revealed 12 thematic categories that structured the experience. “Practicing following Buddhism ways for self-healing” was one of major themes. This theme included two sub-themes of 1) Practicing following Buddhism ways regularly and 2) Understanding the reality of life. Sub-them, Practicing following Buddhism ways provided three activities: 1) Offering foods to monks 2) Studying Buddhism principles, and 3) Praying and practicing meditation.

The findings of this study can be used to suggest nurses and other healthcare providers to follow up and taking care of spouses of dead patients from critical illness. Practicing following the Buddhism ways can be recommended for grieving Thai Buddhists to heal themselves and relief from their suffering during bereavement period.

Downloads