ผลของโปรแกรมการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดต่ออัตราการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
คำสำคัญ:
โปรแกรมการดูแล, การคลอดก่อนกำหนด, สตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง, Program of Care, Preterm Birth, Pregnant Women at Riskบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ต่ออัตราการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และอัตราการคลอดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ซึ่งเข้ารับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช จำนวน 116 ราย โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองจำนวน 56 รายได้รับการดูแลตามปกติร่วมกับการดูแลตามโปรแกรมมาดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด กลุ่มควบคุมจำนวน 60 รายได้รับคู่มือเกี่ยวกับภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและได้รับการดูแลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยติดตามอายุครรภ์เมื่อเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและอายุครรภ์เมื่อคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแคว (X2) สถิติทดสอบฟิชเชอร์และสถิติทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า อัตราการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและการคลอดก่อนกำหนดในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการจัดโปรแกรมการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดร่วมกับการติดตามการหดรัดตัวของมดลูกโดยใช้เครื่องบันทึกการหดรัดตัวของมดลูก และการติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์เพื่อเน้นย้ำให้สตรีตั้งครรภ์สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดด้วยตนเองมีประโยชน์ในการลดอัตราการเกิดภาวะเจ็บครรภ์และการคลอดก่อนกำหนดโดยการค้นหาผู้มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและสามารถให้การรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น
The Effect of Program of Care for Pregnant Women at Risk fot Preterm Labor on the Rates of Preterm Labor and Preterm Birth
This quasi-experimental research aimed to evaluate the effect of a care program for pregnant women at risk for preterm labor on the rates of preterm labor and preterm births, proposed. A total of 116 pregnant women at risk for preterm labor who sought prenatal care at Bhumibol Adulyadej hospital were assigned to intervention and control groups. There were 56 pregnant women at risks for preterm labor in the intervention group who received standard prenatal care plus a care program for pregnant women at risk for preterm labor. On the other hand, 60 subjects in the control group received a handbook about preterm labor and standard prenatal care. Data were collected in terms of the gestational age at the time of labor and birth, and were analyzed using the chi square test (X2), Fisher’s exact test and independent t-test.
The findings revealed a significant difference in the rate of preterm labor and preterm birth between the intervention and control group (p< .05). The findings suggested that education regarding preterm labor symptoms, plus intermittent uterine activity monitoring and telephone contact from a registered nurse to emphasize self-monitoring signs and symptoms of preterm labor are helpful in reducing preterm labor and preterm birth through earlier detection and treatment of preterm labor