พฤติกรรมสุขภาพในเด็กวัยเรียนและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสุขภาพ, เด็กวัยเรียน, ปัจจัยเสี่ยง, ปัจจัยปกป้อง, การรับรู้ความสามารถตนเอง, การสนับสนุนทางสังคม, health behaviors, school-age childern, risk factor, protective factor, self-efficacy, social supportบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพในเด็กวัยเรียน และปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนชั้น ป.4-ป.6 โรงเรียนในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 246 ราย โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม 8 ชุด ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมสุขภาพสำหรับเด็กวัยเรียน พื้นอารมณ์เด็กวัยเรียน สภาพแวดล้อมที่บ้านการสนับสนุนสังคม การรับรู้ความสามารถตนเอง ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .70-.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา Pearson’s correlation coefficients, point bi-serial coefficients, hierarchical และ stepwise multiple regression analyses
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมเท่ากับ 103.60 (S.D. = 10.61) ตัวแปรในปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมสุขภาพ คือ เพศ (หญิง) (r = .201, p < .01) พื้นอารมณ์ด้านการติดตามงาน (r = .169, p < .01) และกิจกรรมเคลื่อนไหว (r = -.122, p < .05) และลักษณะครอบครัว (เดี่ยว) (r = .132, p < .05) และตัวแปรในปัจจัยปกป้องที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมสุขภาพ คือ การสนับสนุนทางสังคม (r = .306, p < .001) การรับรู้ความสามารถตนเอง (r = .458, p < .001) ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ (r = -.127, p < .05) และทัศนคติต่อสุขภาพ (r = .116, p < .05) การรับรู้ความสามารถตนเอง เพศของเด็ก (หญิง) และการสนับสนุนทางสังคมร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมสุขภาพเด็กวัยเรียนได้ ร้อยละ 28.1 (F3,209 = 27.164, p < .001) การรับรู้ความสามารถตนเองอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมสุขภาพได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 21.0 ( = .413, t = 6.797, p < .001) รองลงมาคือ เพศของเด็ก (หญิง) ร้อยละ 4.2 ( = .183, t = 3.098, p < .01) และสนับสนุนทางสังคม ร้อยละ 2.9
( = .179, t = 2.923, p < .01)
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมสุขภาพในเด็กวัยเรียนขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ พยาบาลและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพเด็กควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กวัยเรียนมีการรับรู้ความสามารถตนเองในด้านสุขภาพที่ถูกต้องมากขึ้น รวมทั้งให้การสนับสนุนด้านอารมณ์ สิ่งของ และข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีสุขภาพดี เพื่อให้เด็กวัยเรียนได้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและเหมาะสม
Health Behaviors among School-Age Childern and Its Associated Factors
The purpose of this study was to examine health behaviors among school-age children and its associated factors. Sample included 246 school-age children studying in Prathom 4-6 in secondary schools of Chon Buri province’s municipality. Multi-stage random sampling was used to recruit the sample. Research instruments consisted of 8 questionnaires of demographic information, school children’s health behavior, temperament, neighborhood, social support, self-efficacy, knowledge and attitude about health behaviors. Their internal consistency reliability ranged from .70 to .96. Data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficients, point bi-serial coefficients, hierarchical and stepwise multiple regression analyses.
Results revealed that total mean score of health behavior was 103.60 (S.D. = 10.60). There were significant association between variables in the risk factor and health behaviors, including gender (girl) (r = .201, p < .01), temperament of task persistence (r = .169, p < .01) and motor activity (r = -.122, p < .05), and family type (nuclear) (r = .132, p < .05). There were also significant association between variables in the protective factor and health behaviors, including social support (r = .306, p < .001), self-efficacy (r = .458, p < .001) knowledge about health behaviors (r = -.127, p < .05) and attitudes about health (r = .116, p < .05). Self efficacy, child gender (girl) and social support accounted for 28.1% (F3,209 = 27.164, p < .001) in the variance explanation of health behaviors among school-age children. Self-efficacy was significant and the best explanation of variance in the health behaviors, which accounted for 21.0% ( = .413, t = 6.797, p < .001). The second best and significant was child gender (girl) accounted for 4.2% ( = .183, t = 3.098, p < .01) and followed by social support accounted for 2.9% ( = .179, t = 2.923, p < .01) in the variance explanation.
These findings suggest that health behaviors of school-age children depend on many factors. Nurses and personnel who are responsible for child health care should promote and encourage school children to perceive their self efficacy relevant to appropriate health behaviors. In addition, support the school children for emotion, material and information pertaining to healthy behavior should be enhanced. Consequently, school-age children would be increasing good and proper health behaviors.