ผลของโปรแกมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคข้อเสื่อม

ผู้แต่ง

  • ชนิสรา เตชะมา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลระยอง สาขาตะพง จังหวัดระยอง
  • วารี กังใจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พรชัย จูลเมตต์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

โปรแกมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพต่อ, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุโรคข้อเสื่อม, health behavior promotion, health promoting behaviors, quality of life, osteoarthritis

บทคัดย่อ

การทดลองกึ่งวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคข้อเสื่อม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคข้อเสื่อมที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลระยอง จำนวน 44 คน สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 22 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุโรคข้อเสื่อม โดยการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการเสริมสร้างการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลในระยะก่อนการทดลองและระยะหลังการทดลอง โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคข้อเสื่อม ซึ่งมีค่าความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .96 และ ความเชื่อมั่น เท่ากับ .90 และแบบประเมินคุณภาพชีวิต มีค่าตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .80 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติที

ผลวิจัยพบว่า หลังการทดลอง คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตในกลุ่มทดลอง มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และมากกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพสามารถทำให้ผู้สูงอายุโรคข้อเสื่อมมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดี ส่งผลให้ผู้สูงอายุโรคข้อเสื่อมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้น พยาบาลในโรงพยาบาล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำโปรแกมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุโรคข้อเสื่อม.


Effect of Health Behavior Promotion Program on Health Promoting Behaviors and Quality of Life among Elderly with Osteoarthritis

The purpose of this quasi-experimental research was to examine the effects of Health Behavior Promotion Program on Health Promoting Behaviors and Quality of Life among older people with Osteoarthritis. A sample of forty four older people with osteoarthritis was recruited from the out-patient department in Rayong hospital. Twenty-two older people were simple randomly assigned to the experimental group and the comparative group equally. The experimental group received the health behavior promotion program by improving self-efficacy and social-support, whereas the comparative group received usual nursing care. Data were collected before and after the experiment, using the health behavior promotion of osteoarthritis older people scale with content validity of .96, Cronbach’s alpha coeffient of .90, and the quality of life scale with content validity of .80 and Cronbach’s alpha coeffient of .89. Data were analyzed by using descriptive statistics and t-test.

The result showed that after the experiment, the mean scores of health promoting behaviors and quality of life in the experimental group were significantly higher than the comparative group, and higher than pretest scores at significant level of .05

This study indicated that the Health Behavior Promotion Program can improve health promoting behavior, resulting in better quality of life among older people with osteoarthritis. Therefore, nurses in the hospital or other related settings should apply the behavior promotion program to promote health behavior and quality of life in older people with osteoarthritis.

Downloads