ผลของโปรแกมการส่งเสริมบทบาทมารดาต่อการรับรู้การสนับสนุนของครอบครัว และความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด
คำสำคัญ:
ส่งเสริมบทบาทมารดา, การรับรู้การสนับสนุนของครอบครัว, ความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา, มารดาวัยรุ่นหลังคลอด, maternal roles enhancing, perception of family support, success in maternal role attainment, postartum adolescentsบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกมการส่งเสริมบทบาทมารดาต่อการรับรู้การสนับสนุนของครอบครัว และความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด ผู้วิจัยพัฒนาโปรแกมการส่งเสริมบทบาทมารดาขึ้นไปโดยใช้แนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของ House (1981) และทฤษฎีการดำรงบทบาทมารดาของ Mercer (1985) กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก ณ ห้องผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก จำนวน 60 ราย แบ่งเป็น กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติ ประกอบด้วย การได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองหลังคลอดและการเลี้ยงดูบุตร ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกมการส่งเสริมบทบาทมารดาร่วมกับได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของมารดา แบบบันทึกข้อมูลของบุตร แบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนของครอบครัว และแบบทดสอบความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา ซึ่งค่าสัมประสิทธ์อัลฟาครอนบาคของแบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนของครอบครัว และแบบสอบถามความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา เท่ากับ .94 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไค-สแควร์ (Chi-square) และใช้สถิติทดสอบแมนวิทนีย์ยู (Mann-Whitney U test)
ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ การสนับสนุนของครอบครัว และค่าเฉลี่ยคะแนนความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (z=3.319, p-.001 และ z=2.557, p=.011 ตามลำดับ) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกมการส่งเสริมบทบาทมารดาช่วยให้มารดาวัยรุ่นหลังคลอดรับรู้การสนับสนุนของครอบครัวเพิ่มขึ้น และประสบความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา ซึ่งพยาบาลสามารถนำโปรแกมนี้ไปใช้ในการส่งเสริมบทบาทมารดาของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดได้ เพื่อช่วยให้มารดาวัยรุ่นหลังคลอดประสบความสำเร็จในการปฎิบัติบทบาทมารดาได้
Effect of the Maternal Roles Enhancing Program on Perception of Family Support and Success in Maternal Role Attainment among Postartum Adolescents
The purpose of this quasi – experimental research was to study the effect of the maternal role enhancing program on perception of family support and success in maternal role attainment among postpartum adolescents. The maternal role enhancing program was developed by the research. Based on social support Concept by House (1981) and Mercer’s maternal role attainment theory (1985) the sample consisted of 60 postpartum adolescents admitted in postpartum unit, the tertiary care hospital located in the Thailand. They were divided into an experimental and a control group equally. The control group received routine nursing care incorporate with delivery of knowledge about postpartum care and infant care. The experimental group received the maternal role enhancing program together with routine nursing care. Research instruments included mother data and infant data, the perception of family support questionnaire and the maternal role attainment questionnaire. The Cronbach’s alpha coefficients for the perception of family support questionnaire and the maternal role attainment questionnaire were .94 and .89, respectively. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi-square and Mann-Whitney U test.
The result revealed that mean scores of perception of family support and success of maternal roles attainment score in the experimental group were significantly higher than those in the control group at the .05 level of significance (z=3.319, p=.001 and z=2.557, p=.011, respectively) the finding suggest that the maternal roles enhancing program could lead to increase perception of family support and success of maternal roles attainment. Nurses can use this program in order to enhance maternal roles for postpartum adolescents being succeeded in maternal roles attainment.