การตายดีตามการรับรู้ของผู้ป่วยมะเร็ง

ผู้แต่ง

  • วัลภา คุณทรงเกียรติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การตายดี, ผู้ป่วยมะเร็ง, Good death, cancer patients

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาของไฮเดกเกอร์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายการตายดีตามการรับรู้ของผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ป่วยที่พักรักษาในโรงพยาบาลนะเร็งแห่งหนึ่งในจังหัดชลบุรี โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 5 คน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2554 ถึงเดือนสิงหาคม 2554 โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนของ Cohen, Kahn & Steeves (2000) ผลการศึกษาพบประเด็นหลักเกี่ยวกับการตายดีตมการรับรู้ของผู้ป่วยมะเร็ง รวม 4 ประเด็น คือ การไม่มีความทุกข์ทรมาน การยอมรับการตาย การไม่เป็นภาระของครอบครัว และ การได้อยู่กับครอบครัว ผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งถึงการตายดีตามการรับรู้ของผู้ป่วยมะเร็งทำให้สามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแนวทางการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมะเร็งเกิดการตายที่ดีต่อไป

 

Good Death as Perceived by the Cancer Patients

A qualitative research based on Heideg-gerian phenomenology aimed to describe good death as perceived by the cancer patients. Five informants who were the patients at a cancer hospital in Chon Buri were purposively selected. Data were collected b in-depth interview and observation. Cohen, Kahn and Steevess (2000) steps guided data analysis. Four themes of good death as perceived by the cancer patients emerged, which were no suffering, acceptance of death, not being burden of family, and bring with family. This findings provide deep understanding of good death as perceived by the cancer patients. It can be basic foundation for nurses to promote good death nursing care in cancer patients.

Downloads