ผลการพัฒนาความสามารถของตนเองและการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าและสุขภาพเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • สมควร เฟ้นดี้ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลปักธงชัย อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ รองศาสตราจารย์ สาขาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ยุวดี ลีลัคนาวีระ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การพัฒนาความสามารถของตนเอง, การสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมการดูแลเท้าและสุขภาพเท้า, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, Self-efficacy development, Self-efficacy Development, social support, foot care behavior, foot health, type 2 diabetes patients

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นดารวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการพัฒนาความสามารถจองตนเองและการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าและสุขภาพเท้าในผู้ป่วยเบาหวาชนิดที่ 2 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่ง ในอำเภอปักธงชัย จำนวน 50 คนแบ่งเป็นกลามทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มทลองได้รับการพัฒนาความสามรถของตนเองและการสนับสนุนทางสังคมเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลเท้า และสุขภาพเท้าเป็นเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปพฤติกรรมกาดูแลเท้า และแบบบันทึกสุขภาพเท้า แบบวัดพฤติกรรมดูแลเท้ามีความเชื่อมั่นระดับสูง (α = .84) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงบรรยายและทดสอบความแตกต่างของสัดส่วนข้อมูลทั่วไปของ 2 กลุ่ม ด้วยสถิติไค-สแควร์ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลต่างพฤติกรรมการดูแลเท้าและสุขภาพเท้าก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยสถิติการทดสอบค่าทีแบบอิสระ

ผลการทดองพบว่า ค่าเฉลี่ยผลต่างพฤติกรรมการดูแลเท้าและสุขภาพ ก่อนและหลังการทดลองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม อ่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้ ควรนำรูปแบบการพัฒนาความสามารถของตนเองและการสนับสนุนทางสังคมไปใช้พัฒนาในคลินิกผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน มีความมั่นใจในความสามารถของตนเองในการดูแลเท้า และมีพฤติกรรมการดูแลเท้าที่ดีอย่างต่อเนื่อง

 

The Effects of Self-efficacy Development and Social Support for Foot Care Behavior and Foot Health among Type 2 Diabetes Patients

The purpose of this quasi-experimental study was to compare the effects of self-efficacy development and social support on foot care behavior and foot health of type 2 diabetes patient between experimental and control groups. The sample of 50 patients from two Tambon Health Promoting Hospitals in Amphoe Pak Thong Chai were divided into experimental and control groups, twenty five patients for each group. Multistage random sampling technique was used. The experimental group received self-efficacy development and social support about foot care for 8 weeks. The instruments for collection the data included personal data questionnaire, foot care behavior questionnaire and foot health record form. The reliability of foot care behavior questionnaire was high level (α = .84). The data were analyzed by using descriptive statistics. The proportion of 2 group difference was tested by chi-square. The mean differences of pre and post foot care behavior and foot health between experimental and control group were analyzed by using independent t-test.

The results revealed that mean differences between pre and post scores of foot care behavior and foot health in experimental group were higher than the control group with the statistical significance of .05.

The finding of this study suggest that self-efficacy development and social support should be applied in diabetic clinics to help patients be confident and foot care behavior.

 

Downloads