ผลของการให้โปรแกรมอบอุ่นร่างกายต่ออุณหภูมิแกนและอาการหนาวสั่นในหญิงที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง

ผู้แต่ง

  • สาธร หมื่นสกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลบางพลี อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
  • วัลภา คุณทรงเกียรติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • อาภรณ์ ดีนาน รองศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

โปรแกรมอบอุ่นร่างกาย, อุณหภูมิแกนระยะผ่าตัด, อาการหนาวสั่น, การผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง, การระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง, Warming program, intraoperative hypothermia, shivering, spinal anesthesia

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมอบอุ่นร่างกายต่ออุณหภูมิแกนและอาการหนาวสั่นในหญิงที่มารับการผ่าตัดคลอกบุตรทางหน้าท้องที่ไดรับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง ณ หน่วยงานวิสัญญี ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ แบบสะดวกจำนวน 60 ราย โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมอบอุ่นร่างกายที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการสังเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์ ประกอบด้วยการใช้ผ้าห่มเป่าลมร้อนร่วมกับการอุ่นสารน้ำที่ให้ทางหลอดลเลือดดำตั้งแต่ระยะการผ่าตัดจนเสร็จสิ้นการผ่าตัด สำหรับกลุ่มควบคุมได้รับการอบอุ่นร่างกายตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และ แบบบันทึกอาการหนาวสั่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ค่าสถิติทีอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และค่าสถิติไคสแควร์

ผลการวิจัยพบว่า หญิงที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังที่ได้รับโปรแกรมอบอุ่นร่างกายมีอุณหภูมิแกนเฉลี่ยสูงกว่าหญิงที่ได้รับการอบอุ่นร่างกายตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F1,58 = 20.13, p < .001) และยังมีอาการหนาวสั่นน้อยกว่าหญิงที่ได้รับการ
อบอุ่นร่างกายตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 = 17.38, p < .001) จากการวิจัยครั้งนี้ วิสัญญีพยาบาลสามารถนำโปรแกรมอบอุ่นร่างกายไปเป็นแนวทางในการป้องกันการเกิดภาวะอุณหภูมิแกนต่ำและอาการหนาวสั่นที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังได้

 

Effects of Warming Program on Core Temperature and Shivering Among Women Receiving Cesarean Section Under Spinal Anesthesia

This quasi-experimental study aimed to examine effects of warming program on core temperature and shivering among women receiving cesarean section under spinal anesthesia at anesthesia nit, operating theatre, Bangphli hospital, Samut Prakarn. Sixty cases were recruited using convenient sampling and were assigned into experimental and control group equally. The experimental group received the warming program developed from synthesis of evidence based practice by the researcher. It consisted of using forced-air warming and intravenous fluid warming during pre-operative phase until finishing the operation while the control group received usual body warming program. Instruments included The Demographic Data Record From and The Shivering Sympton Record From. Data were computed by using descriptive statistics, independent t-test, repeated measure analysis of variance and chi-square test.

Finding revealed that the women receiving cesarean section under spinal anesthesia in the experimental group had mean core temperature significantly higher than in the control group (F1,58 = 20.13, p < .001). Additionally, the incidence of shivering of women receiving cesarean section under spinal anesthesia in the experimental group was significantly lower than in the control (X2 = 17.38, p < .001).

These findings suggested that anesthetic nurses should apply this body warming program as a guideline for preventing hypothermia and shivering in women receiving cesarean section under spinal anesthesia.

Downloads