การจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยไอ ซี ยู (Managing of Delirium in ICU patients)

ผู้แต่ง

  • สุนันทา ครองยุทธ

คำสำคัญ:

ภาวะสับสนเฉียบพลัน, การจัดการ, ยารักษาทางจิตประสาท, การบำบัดแบบผสมผสาน, Delirium, managing, antipsychotics, multiple component interventions, ICU patients,

บทคัดย่อ

            ภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยไอซียู เป็นกลุ่มอาการที่สมองสูญเสียหน้าที่อย่างกะทันหันที่พบบ่อยถึงร้อยละ 45-87 ซึ่งเป็นปัญหาทำให้เกิดปัญหาตามมาเช่น การหย่าเครื่องช่วยหายใจล้มเหลว รักษาในโรงพยาบาลนาน และเพิ่มอัตราการถึงแก่กรรม แต่ภาวะนี้บุคลากรทีมสุขภาพมีความเข้าใจและให้ความสำคัญค่อนข้างน้อยจึงทำให้ผู้ป่วยได้รับการประเมินและการรักษาไม่เพียงพอ  ซึ่ง ภาวะสับสนเฉียบพลันแบ่งเป็น 3 แบบได้แก่ 1) มีอาการง่วงซึมสับสน  2) มีอาการกระวนกระวาย และ 3)มีอาการผสมผสาน โดยมีทั้งอาการกระสับกระส่าย ซึมสับสน สูญเสียระบบความจำ สติปัญญาและสมาธิ เครื่องมือที่ประเมินได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ แบบประเมินภาวะง่วงซึมของริชมอนด์ (Richmond;RASS) ร่วมกับแบบประเมินภาวะสับสนเฉียบพลัน CAM-ICU ของ Inouye และEly การจัดการที่เหมาะสมที่สุดคือการจัดการผสมผสานเพื่อการป้องกันและบำบัดอาการ ซึ่งเป็นการรักษาทั้งแบบใช้ยาและไม่ใช้ยา ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมในไอซียูอย่างเหมาะสม ตรวจเยี่ยมบ่อยๆ ลดการใช้เสียง ลดการใช้แสงสว่างในเวลากลางคืน ใช้แสงสว่างจากธรรมชาติในเวลากลางวัน หลีกเลี่ยงการรบกวนการนอนและหลีกเลี่ยงการผูกมัด จัดการความเจ็บปวดและใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ  ร่วมกับการรักษาอาการทางจิตประสาทด้วยยา Haloperidol (first generation antipsychotics) หรือยากลุ่ม second-generation antipsychotics พยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยวิกฤต จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะนี้ สามารถประเมินสภาพผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง และจัดการแบบผสมผสานจึงจะสามารถดูแลผู้ป่วยไอซียูให้ปลอดภัย

         Delirium is an acute cerebral dysfunction among critical ill patients in ICU. It occurs frequently, as high as 45-87 %. This syndrome is usually unrecognized and underdetected because of less aware among health personnel. Delirium can lead to higher mortality rates, failure of mechanical ventilator weaning and longer lengths of hospital stay. Three subtypes have been recognized:-1) hyperactive, 2) hypoactive, and 3) mixed. The clinical presentation of delirium is varied, and delirious patients can have increased or decreased psychomotor activity, impaired

attentional and memory systems, disorganized thinking, and hallucinations or delusions. Sedation agitation level and delirium were assessed using the  Richmond Agitation-Sedation Scale (RASS) and the Confusion Assessment Method for the ICU (CAM-ICU). Managing delirium focuses on prevention and symptom management. These are multicomponent interventions, often with the use of nonpharmacological interventions and pharmacological interventions. Environmental interventions include  providing a quiet patient-care setting, with low-level lighting at night and natural light at daytime, minimal noise allows an uninterrupted period of sleep at night and effectiveness of pain management. Pharmacological interventions for delirium traditionally includes first-generation antipsychotic (haloperidol); second-generation antipsychotics. Critical care nurses need to perform cognitive assessments so that deficits can be recognized and multicomponent interventions for prevention of cognitive impairment can be used. Appropriate nursing care can lessen the severity of delirium and save the ICU patients.

Author Biography

สุนันทา ครองยุทธ

อาจารย์ประจำสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Downloads