การดูแลสุขภาพวัยรุ่น: การส่งเสริมความผาสุกด้านจิตวิญญาณในการป้องกันพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในวัยรุ่นไทย
คำสำคัญ:
วัยรุ่นไทย, ความผาสุกทางจิตวิญญาณ, การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร, Thai adolescents, spiritual well-being, early sexual behaviorบทคัดย่อ
ความผาสุกทางจิตวิญญาณ เป็นส่วนสำคัญของการดูแลสุขภาพองค์รวม ซึ่งเป็นมิติทางสุขภาพด้านหนึ่งของการมีสุขภาพดี และสามารถส่งเสริมให้มีสุขภาพดี ในมิติทางสุขภาพด้านอื่นๆ ด้วยจิตวิญญาณมีแนวคิดทั้งแบบตะวันออกและทางตะวันตก ในสังคมไทยจิตวิญญาณมีแนวคิดทางตะวันออกโดยเชื่อมโยงกับความเชื่อทางศาสนา การรักษาศีลห้า สมาธิและปัญญา พัฒนาการทางจิตวิญญาณของวัยรุ่น ช่วยให้วัยรุ่นค้นหาความเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง การมีคุณค่าในตนเอง มีจุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิต และสามารถเผชิญกับปัญหาที่ผ่านมาในชีวิตได้ วัยรุ่นที่มีความผาสุกทางจิตวิญญาณ จะสามารถควบคุมตนเอง เมื่ออยู่ท่ามกลางแรงกดดันของกลุ่มเพื่อน และตัดสินใจในการกระทำที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการป้องกันพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ การประเมินความผาสุกทางจิตวิญญาณ สามารถประเมินโดยการใช้แบบสอบถาม การประเมินด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ เช่น การสัมภาษณ์เชิงลึก หรือการสนทนากลุ่ม ในการประเมินเกี่ยวกับความต้องการด้านจิตวิญญาณ หากวัยรุ่นได้รับการตอบสนองด้านจิตวิญญาณ จะทำให้เกิดความผาสุกทางจิตวิญญาณได้ พยาบาลควรนำการส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณมาใช้ในกระบวนการพยาบาล สัมพันธภาพที่ดีระหว่างพยาบาลและวัยรุ่น จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพยาบาล และส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นการส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพวัยรุ่น เพื่อละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรได้
Spiritual well-being is the essence of holistic health that can bestrengthened other health aspects. The meaning of spirituality can be described both eastern and western perspectives. For Thai society, the spiritual dimension is an eastern perspective which related to the religious belief including five precepts, meditation, and wisdom. Spiritual development helps adolescent for searching self-identity, self-esteem, life goals and life coping skills. Adolescents who exhibit spiritual well-being will be able to monitor on self-regulation among peer pressure and decide to perform appropriate behaviors especially early sexual behavior prevention. The spiritual well-being assessment should be measured by using the questionnaires or qualitative approach including in-depth interview or focus groups discussion related to spiritual needs. According to spiritual well-being promotion, nurses should address spiritual well-being in the nursing process. The relationships among adolescents and nurses provide the opportunity to achieve the goals and enhance the quality of life. The spiritual well-being promotion will be applied on adolescents’ health in order to abstain early sexual behavior.