ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กวัยก่อนเรียน
คำสำคัญ:
เด็กวัยก่อนเรียน, พฤติกรรมของมารดา, โรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก
วัยก่อนเรียนที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่มีบุตรวัยก่อนเรียน จำนวน 86 ราย คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 - มกราคม พ.ศ. 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของมารดาและเด็กวัยก่อนเรียน
แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก การรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก การสนับสนุนทางสังคม การได้รับข้อมูลข่าวสาร และพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก
วัยก่อนเรียน แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80, .87, .93, .84 และ .79 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความสามารถตนเอง การรับรู้เกี่ยวกับโรค การสนับสนุนทางสังคม และการได้รับข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กวัยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .727, p < .001,
r = .650, p < .001, r = .615, p < .001 และ r = .465, p < .001 ตามลำดับ) ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะให้พยาบาลและบุคลากรทีมสุขภาพควรจัดโปรแกรมที่เน้นการเพิ่มการรับรู้ความสามารถตนเองการรับรู้เกี่ยวกับโรค การสนับสนุนทางสังคม และให้ข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอ เพื่อให้มารดามีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กวัยก่อนเรียนที่ดี นำไปสู่การมีสุขภาพดีของเด็กต่อไป การรับรู้เกี่ยวกับโรค การสนับสนุนทางสังคม และให้ข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอ เพื่อให้มารดามีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กวัยก่อนเรียนที่ดี นำไปสู่การมีสุขภาพดีของเด็กต่อไป