ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหย ต่ออาการเหนื่อยล้าในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
คำสำคัญ:
การจัดการกับอาการ, อาการเหนื่อยล้า, น้ำมันหอมระเหย, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ผู้สูงอายุ, Symptom management, fatigue, essential oil, chronic obstructive pulmonary disease, elderlyบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยต่ออาการเหนื่อยล้าในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่มารับบริการที่คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลศรีมโหสถ ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด 24 คน สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหย กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการจัดการกับอาการเหนื่อยล้าร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แบบวัดความเหนื่อยล้าที่มีค่าความเที่ยง .88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนอาการเหนื่อยล้าในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรม ต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F1, 22 = 8.9, p < .01) ค่าเฉลี่ยคะแนนอาการเหนื่อยล้ากลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลอง และติดตามผล ต่ำกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F2, 44 = 25.67, p < .001) การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรนำโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหย ไปประยุกต์ใช้กับผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการเหนื่อยล้าต่อไป
Abstract
The quasi-experimental research aimed to examine the effect of symptom management program combined with essential oil on fatigue among elderly with chronic obstructive pulmonary disease. Samples were twenty four elderly with chronic obstructive pulmonary disease were recruited from the chronic obstructive pulmonary disease clinic of the Srimahosot Hospital. Twelve samples were simple randomly assigned to the experimental and the comparative groups equally. The samples in the experimental group received the symptom management program combined with essential oil, whereas the comparative group received routine nursing care. Research instrument was symptom management program combined with essential oil on fatigue among elderly with chronic obstructive pulmonary disease, the reliability of fatigue scale was .88. Data were analyzed by using descriptive statistics and repeated measures analysis of variance
The results indicated that mean score of fatigue in the experimental group were significantly lower than the comparative group (F1, 22 = 8.9, p < .01). Mean score of fatigue in the experimental group at posttest and follow-up were significantly lower than at pretest (F2, 44 = 25.67, p < .001). The finding is recommended that the symptom management program combined with essential oil should be used in practice for the elderly with chronic obstructive pulmonary disease who experience fatigue.