การคำนึงเรื่องเพศสภาพ: สมรรถนะที่สำคัญสำหรับการศึกษาพยาบาล Gender-Perspective Concerning: Essential Competence for Nursing Education

ผู้แต่ง

  • บุญสืบ โสโสม

คำสำคัญ:

เพศสภาพ, ความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะ, การศึกษาพยาบาล, gender, gender sensitive care, nursing education

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          ส่วนใหญ่แล้วในการจัดการศึกษาทางพยาบาลศาสตร์มักเข้าใจกันว่าเรื่องเพศสภาพเป็นการศึกษาเฉพาะเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์เท่านั้น แต่หากพิจารณาการให้ความหมายของเพศสภาพที่เกี่ยวข้องกับมิติทางสังคมและวัฒนธรรมแล้ว พบว่าเพศสภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดภาวะสุขภาพของบุคคลทุกช่วงวัย บทความนี้นำเสนอ ความหมายของเพศภาพในแง่มุมต่างๆ  ได้แก่ คำว่า เพศ เพศวิถี อัตลักษณ์ทางเพศ ลักษณะเฉพาะประจำเพศ บทบาทหญิงชาย การแบ่งงานกันทำของหญิงชาย โดยยกตัวอย่างรายงานการวิจัยว่าความหมายของคำดังกล่าวมีผลต่อสุขภาพ  และการประยุกต์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาจากตัวอย่างดังกล่าวไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล อีกทั้งยังได้สรุปความหมายโดยรวมไว้ว่าการจะเป็นนักปฏิบัติการพยาบาลที่คำนึงถึงเรื่องเพศสภาพต้องเป็นบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะ (gender sensitive care) พร้อมกับได้เสนอแนวทางในการจัดการศึกษาพยาบาลเพื่อให้เกิดผลสุดท้ายของการจัดการศึกษาคือ การมีสมรรถนะด้านเพศสภาพ (gender competence)   


Abstract

          In generally, nursing educational programs claim that gender as only reproductive health, nevertheless extensively its’ meaning associated with socially and culturally determinant health status of all stage of life.  This article proposes the implication of gender in vary dimensions, including, sex, sexuality, gender identities, gender stereotype, gender role, gender division of labor. With recommend to example the additional meanings of gender from researches effecting on health, this consequently demonstrate on applying knowledge to nursing interventions. Finally, it concludes that the practicing in nurse profession with gender lens should train to be gender sensitive care performing gender competences as outcome of nursing education.

Downloads