ประสบการณ์การสูบบุหรี่ของหญิงวัยรุ่นตอนปลาย: กรณีศึกษานักศึกษาในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพในสถาบันอุดมศึกษา Late Adolescent Females’ Smoking Experiences: A Case Study of Health Science Students in a University

ผู้แต่ง

  • พวงผกา คงวัฒนานนท์

คำสำคัญ:

การสูบบุหรี่, หญิงวัยรุ่นตอนปลาย, เพศภาวะ, ประสบการณ์, Smoking, Late adolescent female, Gender, Experiences

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์ การให้ความหมายและวิถีการนำสู่การสูบบุหรี่ของหญิงวัยรุ่นที่กำลังศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 22 คน (18-22 ปี) โดยเลือกแบบเจาะจงและการบอกต่อ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม จนถึงจุดอิ่มตัว และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและแก่นสาระ ได้ข้อค้นพบคือ หญิงวัยรุ่นรับรู้และให้ความหมายต่อการสูบบุหรี่ทั้งด้านบวกและลบ การเลิกหรือสูบบุหรี่ต่อจนติดขึ้นอยู่กับการรับรู้และบุคลิกภาพของแต่ละคน ส่วนแบบแผนการนำสู่การสูบบุหรี่มี 5 สาระสำคัญ คือ 1) หลีกหนี: ไม่ดีไม่สัมผัส  2) อยากรู้: ลองเพื่อรู้ รู้แล้วเลิก 3) อยากลอง: ลองแล้วลองอีกจนติด 4) เลียนแบบ: ดูเท่ เก่ง มั่นใจ 5) ตั้งใจสูบ: คลายเครียด ขจัดทุกข์ ข้อค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่าหญิงวัยรุ่นแม้จะมีความรู้ด้านสุขภาพดี ก็ยังมีการสูบบุหรี่ ดังนั้นข้อความรู้ที่ได้ชี้นำถึงการพัฒนาโปรแกรมต้องเฉพาะกับหญิงวัยรุ่น ซึ่งการสูบบุหรี่ไม่ได้มีผลต่อสุขภาพเท่านั้นแต่ยังเกี่ยวข้องกับประเด็นอัตลักษณ์ และเพศภาวะด้วย การเสริมสร้างพลังอำนาจและการจัดการปัญหาด้วยตนเองที่ดีมีความสำคัญต่อการยั้งใจเข้าสู่เส้นทางการสูบบุหรี่จนติด และเลิกสูบบุหรี่ของหญิงวัยรุ่น

 

Abstract

This qualitative research aimed to describe the late adolescent females’ experiences of smoking that focus on the meaning of smoking, patterns and process of smoking. Twenty two participants (18-22 years) were health science students in a university by using purposive sampling and snowball techniques. Data were collected by using in-depth interviewed and non-participatory observation until data saturation. Content analyses and thematic analysis were used for data analysis. The findings revealed that late adolescent females’ perception and meaning of smoking were in positive and negative views. The reasons to continue or quit smoking depended on perception and personality. The patterns and process of smoking composed of five themes: 1) avoiding: smoking is a bad thing, please don’t touch it, 2) being curious: try to know and quit smoking, 3) wanting to try: try to smoke then smoke continually until addicted, 4) imitating: smart looking, looking clever and confident, and 5) intention to smoke: reduced stress and eliminated suffering.  These findings can be concluded that although adolescent females are high education in health, they contact smoking. So the knowledge of female adolescences’ experiences lead to the development of appropriate health promotion specific program for female.  Smoking does not only effect to health but also identity and gender issue of adolescent female life. Empowerment and appropriate self-management are significant for stopping the access to smoking and quitting among late adolescent female.

 

Downloads