ผลการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตน และพฤติกรรมการส่งเสริมการควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วัชราภรณ์ สิมศิริวัฒน์
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
  • นิสากร กรุงไกรเพชร

คำสำคัญ:

โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย, การสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตน, การรับรู้ความสามารถของตน, อาสาสมัครสาธารณสุข, Thalassemia, self-efficacy, perceived self-efficacy, health volunteers

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            ประชากรไทยป่วยด้วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก และปัจจุบัน

ยังไม่สามารถควบคุมโรคนี้ได้ตามเป้าหมาย การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง สองกลุ่มวัดผลก่อน

และหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตน และพฤติกรรมการส่งเสริมการควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน

เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครเขตประเวศ กรุงเทพฯ จำนวน 64 คน และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 32 คน กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยประยุกต์แนวคิดการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนของแบนดูราเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์

ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการอบรมตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตน และแบบสอบถามพฤติกรรมการส่งเสริมการควบคุม

โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการทดสอบค่าทีแบบอิสระ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนและพฤติกรรมการส่งเสริมการควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 16.69, t = 16.78, t = 22.12, p < .05, ตามลำดับ) ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า

พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนควรนำรูปแบบการวิจัยนี้ไปประยุกต์ ใช้ในการจัดอบรมเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนของอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการส่งเสริมการควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียต่อไป

 

 

Abstract

            Globally, the number of Thai population suffering from thalassemia is the first most recorded. It has not been controlled to meet the goal. This quasi-experimental two-group pretest-posttest research aimed to examine the effects of self-efficacy enhancement on knowledge, perceived self-efficacy, and behavior towards health promotion to control thalassemia among village health volunteers of Bangkok metropolitan. Multi-stage random sampling was used to recruit a sample of 64 health volunteers in Prawet district, Bangkok. Then, random assignment was carried out to assign the sample into an experimental and a control groups for 32 each. The experimental group received four-week activities of self-efficacy enhancement program developed by the researcher based on Bandura’s self-efficacy concept while the control group received usual activities. Data were collected by using questionnaires of knowledge, perceived self-efficacy and health promoting behavior to control thalassemia. Descriptive statistics and independent t-test were used to analyze the data.

The results revealed that after completion of the intervention, the experimental group had mean scores of knowledge, perceived self-efficacy and health promoting behavior to control thalassemia significantly higher than those in the control group (t = 16.69, t = 16.78, t = 22.12, p < .05, respectively). These findings indicate that community nurse practitioners should apply this program to increase self-efficacy perception among village health volunteers in other communities. Consequently, health promoting behavior to control thalassemia would be enhanced.

Downloads