การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่มีภาวะติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ศศิธร สุรทานต์นนท์ โรงพยาบาลหัวหิน จัหวัดประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย, การล้างไตทางหน้าท้องแบบต่อเนื่อง, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม , การติดเชื้อเยื่อบุในช่องท้อง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง 2 ราย ที่รักษาในโรงพยาบาลหัวหิน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาเป็นเวชระเบียนผู้ป่วยใน และแบบบันทึกข้อมูล ประเด็นการเปรียบเทียบ ได้แก่ แบบแผนสุขภาพ พยาธิสภาพ การพยาบาล และปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ  ผลการศึกษาพบว่า

          ผู้ป่วยรายที่ 1  แรกรับมีหายใจเหนื่อย ไข้สูง ท้องบวมตึง ได้รับการวินิจฉัยแรกรับ ESRD with Infected CAPD with Sepsis พักรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 50 วัน แพทย์จำเป็นต้องเปลี่ยนการรักษาเป็นการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เนื่องจากไม่สามารถทำ CAPD ได้จากการมีพังผืดในช่องท้องจำนวนมาก เมื่อจำหน่ายกลับบ้านผู้ป่วยยังต้องมารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างต่อเนื่อง

          ผู้ป่วยรายที่ 2  แรกรับมีอาการไข้ น้ำยาล้างไตทางหน้าท้องขุ่น ได้รับการวินิจฉัยว่า ESRD with Infected CAPD รักษาด้วยการล้างไตทางหน้าท้องอย่างต่อเนื่องร่วมกับให้ยาปฏิชีวนะ เมื่อจำหน่ายยังรักษาด้วยการล้างไตทางหน้าท้องอย่างต่อเนื่อง

      ดังนั้น พยาบาลควรเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการล้างไตทางหน้าท้องอย่างถูกต้อง ควบคู่กับการประเมินภาวะติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องที่เป็นภาวะแทรกซ้อนสำคัญ เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติสามารถประเมินความผิดปกติและมารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที 

References

Annapanurak, R., Manit, A. (2558). Development of nursing service system among Chronic kidney disease patients receiving continuouse ambulatory peritoneal dialysis by using case management concept at King Narai hospital Lop Buri. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing, 26(1):133-148. (In Thai)

Changsirikulchai, S., Sriprach, S., Thokanit, NS., Janma, J., Chuengsaman, P., Sirivongs, D. (2018). Survival analysis and associated factors in Thai patients on peritoneal dialysis under the pd-First policy. Perit Dial Int, 38(3), 172–8.

Liu, F.X., Gao, X., Inglese, G., Chuengsaman, P. Pecoits-Filho, R. & Yu, A. (2015). A global overview of the impact of peritoneal dialysis first or favored policies: An opinion. Perit Dial Int. 35(4), 406–20.

Payuha, P., Buaphan, B., Siwina, S. (2019). A model development of self-care on chronic kidney disease patients in community Roi-Et Province. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand, 9(2), 179-189. (In Thai)

Sakaci, T., Ahbap, E, Koc, Y., Basturk, T. Ucar, Z. A., Sınangıl, A. et al., 2015). Clinical outcomes and mortality in elderly peritoneal dialysis patients. Clinics, 70, 363-368.

Suanpoot W. (2014). Factors associated with infection in patients with continuous ambulatory peritoneal dialysis, Song District, Phrae Province, Thailand. J Health Sci, 23, 284-289.

The nephrology Society of Thailand .(2015). Recommendations for hemodialysis in 2014. Bangkok. Retrieved February 4, 2021 from http://www.nephrothai.org/index.asp.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-29

ฉบับ

บท

บทความกรณีศึกษา