จริยธรรมการตีพิมพ์

มาตรฐานทางจริยธรรมของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์

วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต 

ความรับผิดชอบของบรรณาธิการ

  1. คัดกรองและพิจารณาบทความที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ให้ตรงตามขอบเขตที่วารสารกำหนดด้วยการใช้หลักการทางวิชาการและระเบียบวิธีวิจัย
  2. ตรวจสอบและเสนอแนะตามหลักการทางวิชาการและระเบียบวิธีวิจัย (Pre review) เพื่อให้ผู้นิพนธ์ปรับแก้บทความก่อนส่งประเมินบทความ
  3. พิจารณาคัดเลือกผู้ประเมินบทความ (Peer review) อย่างเป็นธรรม โดยยึดหลักตามความเหมาะสมตรงตามสาขาของเนื้อหาบทความ โดยผู้ประเมินบทความจะไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์จะไม่ทราบชื่อผู้ประเมินบทความ (Double blind)
  4. ตรวจสอบการแก้ไขบทความให้ตรงตามข้อเสนอแนะของผู้ประเมินบทความ และพิจารณาตัดสินกรณี
  5. คำแนะนำของผู้ประเมินบทความมีความเห็นไม่ตรงกัน ในกรณีผู้ประเมินบทความคนใดคนหนึ่งพิจารณาปฏิเสธการตีพิมพ์ บรรณาธิการจะประเมินบทความและใช้ผลการตอบรับการตีพิมพ์ 2 ใน 3
  6. แจ้งผลพิจารณาบทความที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ด้วยหลักการทางวิชาการ ให้แก่ผู้นิพนธ์ทราบ
  7. สร้างมาตรฐานการดำเนินงานวารสารให้มีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
  8. เก็บรักษาข้อมูลเอกสาร บทความของผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ และเอกสารที่เกี่ยวข้องให้เป็น
  9. ความลับและดำเนินการทำลายเอกสารตามระยะเวลาที่กำหนด
  10. รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้นิพนธ์ กรณีมีการอุทธรณ์เนื่องจากผู้นิพนธ์มีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ
  11. ดำเนินการประสานระหว่างผู้นิพนธ์กับผู้ประเมินบทความ กรณีที่มีความคิดเห็นทางวิชาการไม่ตรงกัน

บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์

  1. ส่งบทความตามรูปแบบที่วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตกำหนดผ่านระบบ Thaijo
  2. แก้ไขบทความตามคำแนะนำของบรรณาธิการและผู้ประเมินบทความตามเวลาที่กำหนด กรณีมีความ
  3. คิดเห็นทางวิชาการที่แตกต่าง ผู้นิพนธ์สามารถชี้แจงเหตุผลที่ไม่ปรับแก้ไขบางประเด็นมายังวารสารได้
  4. บทความของผู้นิพนธ์จะถูกตรวจสอบความซ้ำซ้อนของเนื้อหา (Plagiarism) จากระบบ Thaijo หากมี
  5. ความซ้ำซ้อนเกินร้อยละ 20 ผู้นิพนธ์จะต้องปรับแก้ไข
  6. ผู้นิพนธ์ต้องส่งเอกสารรับรองจริยธรรมการวิจัยแนบมาพร้อมกับบทความที่ส่งผ่านทางระบบ Thaijo
  7. ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกผลงานวิชาการของผู้อื่นหรือนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนเอง
  8. ผู้นิพนธ์จะต้องอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและทันสมัย
  9. ผู้นิพนธ์จะต้องไม่ส่งบทความไปพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นๆ พร้อมกัน
  10. ผู้นิพนธ์จะต้องตรวจสอบบทความก่อนขึ้นระบบ Thaijo ทั้งนี้หากมีประเด็นผิดพลาดทางวารสารจะไม่ดำเนินการแก้ไขบทคความที่ขึ้นระบบ Thaijo แล้ว

 บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ

  1. ผู้ประเมินมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของบทความตามหลักวิชาการเป็นสำคัญและจะต้องประเมินบทความผ่านระบบ Thaijo
  2. ผู้ประเมินต้องประเมินบทความด้วยความยุติธรรมยึดหลักจริยธรรมเป็นสำคัญ
  3. ผู้ประเมินบทความต้องให้ข้อเสนอแนะที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์ มีความทันสมัยและน่าเชื่อถือ
  4. ผู้ประเมินบทความจะไม่แสดงตนเองกับผู้นิพนธ์โดยยึดหลัก Double blind กรณีจำเป็นต้องปรึกษากับผู้นิพนธ์ต้องแจ้งบรรณาธิการเป็นผู้ประสาน
  5. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เรียกร้องสิทธิหรือผลประโยชน์จากผู้นิพนธ์
  6. ผลการพิจารณาบทความถือเป็นสิทธิ์ขาดของบรรณาธิการวารสาร