ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหน่วยตรวจหัวใจด้วยเครื่องมือพิเศษ โรงพยาบาลตำรวจ
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ทางสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส., โรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงสหสัมพันธ์วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในหน่วยตรวจหัวใจด้วยเครื่องมือพิเศษ โรงพยาบาลตำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 297 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง วันที่ 1 มีนาคม – 30 มีนาคม 2564 เครื่องมือวิจัยเป็นแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตาม 3อ.2ส. ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.82 และ 0.79 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวม อยู่ในระดับพอใช้ (M = 43.75, SD=15) และพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. โดยรวม อยู่ในระดับ พอใช้ (M=20.50, SD=6.53)
2 ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยภาพรวมและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ2ส พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =.511, p<.01)
พยาบาลผู้ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรให้การพยาบาลครอบคลุมแบบองค์รวมร่วมกับเน้นการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการ เพื่อให้เกิดการรับรู้และความเข้าใจที่อาจนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมต่อไป
References
Division of Health Education, Ministry of Public Health. (2011). Health Intelligence. Bangkok: New Ordinary Print (Thailand) Co., Ltd. (in Thai)
Hypertension Association of Thailand. (2019). Guidelines for the treatment of hypertension in medical practice. General (Version B.E. 2562). Retrieved July 1, 2021 from http://www.thaihypertension.org/files/HT%20guideline%202019.with%20watermark. pdf. (in Thai)
Hinkle, D. E. (1998). Applied statistics for the behavior sciences (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.
Kanjanapibulwong, A. (2020). Report on the situation of NCDs, diabetes, high blood pressure. 2020, Non-Communicable Disease Division, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (in Thai)
Nammontri, O. (2018). Health literacy. Dentist Journal. 29(1),122-128.
Nutbeem, D. (2008). The evolving concept of Health Literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072-2078.
Panurat, S., Bhoosahas, P., Thutsaringkarnsakul, S. (2019). Factors Related to Health Literacy among the Elderly in Pak Phli District, Nakhon Nayok Province. Journal of the Police Nurse, 11(1), 86-94. (in Thai)
Paiboonsira, P. (2018). Knowledge of health and health behaviors 3S 2S of government executives. Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Journal of the Association of Preventive Medicine of Thailand. 8(1), 97-107. (in Thai)
Sinsap, P., Chankra, J. & Chaimun, B. (2017). Hypertension.Hypertension in the Elderly: The Silent Executioner to Be Aware of. Journal of Phra Prajadhipok's College of Nursing, Chanthaburi, 28(1), 100-111. (in Thai)
Weber, M. A., Schiffrin, E. L., White, W. B., Mann, S., Lindholm, L. H., Kenerson, J. G., ... & Harrap, S. B. (2014). Clinical practice guidelines for the management of hypertension in the community: a statement by the American Society of Hypertension and the International Society of Hypertension. The journal of clinical hypertension, 16(1), 14.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory analysis. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทีตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และผลงานวิชาการหรือวิจัยของคณะผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นของบรรณาธิการหรือผู้จัดทํา