ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ประนอม จิตต์ทนงศักดิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมดำเนินงาน, กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น, คณะกรรมการกองทุน

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับพฤติกรรมดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดราชบุรี และ 2) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการกองทุนกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นและผู้รับผิดชอบกองทุน จำนวน 352 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่่า การวิเคราะห์ความสามารถทำนายพฤติกรรมดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น พบว่า การสนับสนุนจากบุคคลและสังคมสามารถทำนายได้สูงสุด (ß=2.162, p<.001) รองลงมา ได้แก่ ระยะเวลาการดำเนินงานในกองทุน (ß=1.744, p<.001) และความรู้ในการดำเนินงานสามารถทำนายน้อยที่สุด (ß=.232, p=.008) โดยปัจจัยทั้ง 6 ด้าน สามารถร่วมกันทำนายทำนายพฤติกรรมดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดราชบุรี  ได้ร้อยละ 81.80 (R2adj =.818,  p<.01)

        ดังนั้นการพัฒนาพฤติกรรมดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดราชบุรี ควรเน้นส่งเสริมการสนับสนุนจากบุคคลและสังคม การส่งเสริมให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นปฏิบัติงานในตำแหน่งเป็นระยะเวลานาน  และปรับเปลี่ยนนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ทันสมัย สอดคล้องกับบริบทของการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดำเนินงานในทางบวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

References

Green, L. & Kreuter, M. (1991). Health Promotion Planning: An Educational and Environmental Approach. California: Mayfield, Mountain View.

Kispredarborisuthi, B. (2010). Social sciences research methodology. (11th ed.). Bangkok: Chamchuree products Co., LTD. (in Thai).

Ngamnoi, N. & Rattana, P. (2016). Factors affecting the local health security fund achievements in Nonthaburi. Journal of Health Science Research, 10(1), 96-105. (in Thai).

Oneday, O. (2019). Factors related to the participation of network partners at local health fund operations in Dongcharoen district ; Phichit province . Phichit Public Health Research and Academic Journal, 1(1), 56-69. (in Thai)

Promruksa, N., Ratioran, S., Pensirinapa, N. (2016). Factors Related to Management of Local Health Security Fund in National Health Security Office Region 1 Chiang Mai Province. Journal of Safety and Health, 9(32), 43-32. (in Thai)

Puangmalai, N., Jiradetprapai, S., Maneechot, T., & Nokdee, S. (2016). A Development of Management Model for Health Security Fund in Cnachoengsao Province. Research and Development Journal Humanities and Social Science, 11(1), 349-361. (in Thai)

The National Health Security Office. (2016) Manual operation funded health coverage in local areas revision 2016. Bangkok: Sahamit Printing And Publishing. (in Thai)

Yamane, T. (1967). Statistics : An introductory analysis. London : John Weather Hill,Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31