ประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เขตเทศบาลเมืองบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, รูปแบบการดูแล , ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เขตเทศบาลเมืองบ้านโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุหลังการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 50 ราย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง แบบประเมินกิจวัตรประจำวัน และแบบประเมินความพึงพอใจ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ pair t – test ผลการวิจัย พบว่า
1.รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ประกอบด้วย 4 ระยะ ดังนี้ การประเมินปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแล การดำเนินการดูแลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม และการประเมินการดูแลผู้สูงอายุหลังการใช้รูปแบบผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พบว่า คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01)
2. ความพึงพอใจของผู้สูงอายุ พบว่า หลังการใช้รูปแบบผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (M=4.88, SD=0.33)
รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้นสามารถส่งเสริมการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันดีขึ้นและเพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากดีขึ้น ควรนำผู้ดูแลและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในรูปเครือข่ายต่อไป
References
Department of Medical Services, Ministry Public Health .(2014). Guidelines/ Geriatric Assessment. (1st ed.). Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand Printing Office. (in Thai)
Department of older persons, Ministry of Social Development and Human Security .(2019).
Measures to drive the National Agenda on Aging Society. (2nd edition). Bangkok: Amarin Printing and Publishing. (in Thai)
Ministry Public Health .(2020). Elderly Health Diary. (4th ed.). Bangkok: Department of older
persons, Department of Health. (in Thai)
Praditpornsilpa, K. (2018). Geriatrics Medicine. (1st ed.). Bangkok: Rungsilp Printing. (in Thai)
National Statistical Office of Thailand. (2018). The Survey Report of the older adult in Thailand in 2017. ). Retrieved October 2, 2021 from http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาประชากร/ประชากรผู้สูงอายุ/2560/รายงานฉบับสมบูรณ์.pdf.
Yamwong, N. (2014). Quality of life and physical activities of daily living among elderly patients at HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center. Journal of Medicine and Health Sciences, 21(1) 35-42.
Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute. (2020). The situation of the elderly in Thailand. Retrieved October 2, 2021 from https://www.thaitgri.org/ wpdmpro=รายงานสถานการณ์ผู้สูง-10.
The Statistical Office of Ratchaburi Province. (2020). Thai Elderly population in Ratchaburi
Province. Retrieved October 4, 2021 from http://ratburi.nso.go.th/nso-002/391-nso7015a.html.
Puangniyom, S., Rungnoei, N., Boontae, U. (2019). Development of Integrated Healthcare Model
for the Dependent Elderly in the Pilot Areas, Phetchaburi Province. Region 4-5 Medical Journal, 38(3), 178-195.
Koff, T.H. & Bursac, K. M. (1995). Long term care: An annotated bibliography. Westport, CT: Greenwood.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทีตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และผลงานวิชาการหรือวิจัยของคณะผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นของบรรณาธิการหรือผู้จัดทํา