ผลของโปรแกรมการป้องกันการหกล้มซ้ำในผู้สูงอายุอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ดารณี ทองสัมฤทธิ์ โรงพยาบาลวัดเพลง จังหวัดราชบุรี
  • เยาวลักษณ์ มีบุญมาก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ล้มซ้ำ, ผู้สูงอายุ, ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของบาร์เธล

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการหกล้มซ้ำและการป้องกัน ความความยืดหยุ่นของร่างกาย ความสามารถในการทรงตัว และพฤติกรรมป้องกันการหกล้มซ้ำของผู้สูงอายุก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการป้องกันการหกล้มซ้ำในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวนทั้งหมด 30 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการป้องกันการหกล้มซ้ำในผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการหกล้มซ้ำและการป้องกัน  แบบประเมินความความยืดหยุ่นของร่างกาย แบบประเมินความสามารถในการทรงตัว และแบบประเมินพฤติกรรมป้องกันการหกล้มซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลที่มีการกระจายไม่ปกติวิเคราะห์ด้วยสถิติวิลคอกซัน ผลการวิจัย พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการหกล้มซ้ำและการป้องกัน ความความยืดหยุ่นของร่างกาย ความสามารถในการทรงตัว และพฤติกรรมป้องกันการหกล้มซ้ำ ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( t = 4.6, p < .001 ; t=4.5 , p < .001; t=10.2 , p < .001 และ t=5 , p < .001)

        จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะควรมีนโยบายดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการหกล้มและนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้ รวมทั้งสอดแทรกการป้องกันการหกล้มซ้ำในการจัดการศึกษาด้านสุขภาพ

 

References

Hamm, J., Money, A. G., Atwal, A., & Paraskevopoulos, I. (2016). Fall prevention intervention technologies: A conceptual framework and survey of the state of the art. Journal of biomedical informatics, 59, 319-345.

Silveira, P., Van De Langenberg, R., van Het Reve, E., Daniel, F., Casati, F., & De Bruin, E. D.(2013). Tablet-based strength-balance training to motivate and improve adherence to exercise in independently living older people: a phase II preclinical exploratory trial. Journal of medical Internet research, 15(8), e2579.

World Health Organization. (2004). What are the main risk factors for falls amongst older

people and what are the most effective interventions to prevent these falls? Retrieved March 3, 2022 from https://www.euro.who.int/__data/assets/pdf_file/0018/74700/E82552.pdf

World Health Organization. (2008 ). Falls in the elderly. Retrieved March 11, 2022 from https://www.dop.go.th/th/know/15/548

World Health Organization.(2012). Elderly situation. Retrieved March 8, 2022 from https://www.dop.go.th/th/know/2/52

World Health Organization. (2017 ). Elderly situation. Retrieved March 11, 2022 from https://www.dop.go.th/th/know/side/1/2/147

Yoo, J. S., Kim, C. G., Yim, J. E., & Jeon, M. Y. (2019). Risk factors of repeated falls in the community dwelling old people. Journal of exercise rehabilitation, 15(2), 275.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-27