ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในบุคลากรที่มีระดับไขมันในช่องท้องและดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • นพพร ทัพอยู่ โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ , พฤติกรรมสุขภาพ , ระดับไขมันในช่องท้อง , ดัชนีมวลกาย

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งการทดลองแบบกลุ่มเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพระดับไขมันในช่องท้อง และดัชนีมวลกายของบุคลากรโรงพยาบาลดำเนินสะดวก ด้วยการวัดผลก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่มีระดับไขมันในช่องท้อง และดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน จำนวน 40 ราย คัดเลือกตามเกณฑ์และทำการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ คือโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พัฒนาขึ้นโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีเรียนรู้ทางปัญญาสังคม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ การติดตามตนเอง การประเมินตนเอง การเสริมแรงตนเอง รวมระยะเวลา 8 สัปดาห์ และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.77  วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05  ด้านระดับไขมันในช่องท้องและดัชนีมวลกาย หลังการเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับไขมันในช่องท้อง รวมทั้งดัชนีมวลกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 

       ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรสาธารณสุข ควรส่งเสริมให้ประเมินและเสริมแรงตนเอง เพื่อให้บุคลากรสามารถกำกับตนเองที่จะส่งผลให้สามารถควบคุมระดับไขมันในช่องท้องและดัชนีมวลกายให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้อย่างยั่งยืน

References

Bandura A. (1986). Social Learning Theory. New York : General Learning Press.

Chantawat K. (2015). Effects of self-regulation program on weight loss behavior and bodyweight among overweight female health care personnel. The journal of Faculty of Nursing, Burapha university, 24(3), 70-82. (in Thai)

Department of Disease Control. (2019). The report of the situation of NCD (DM HT and risk factors in 2019). Retrieved March 20, 2022 from http://www.ddc.moph.go.th/uploads/publish/1035820201005073556.pdf. (in Thai)

Department of Health Education, Damnoen Saduak Hospital, Ratchaburi Province. (2020). The personnel health report in 2020. (in Thai)

Division of Health Education, Ministry of Public Health. (2015). Behavior modification, Food consumption for working age. Nonthaburi: Ministry of Public Health. (in Thai)

Ekkapalakorn, W., Phakcharoen, H. & Sathienoppakao, W. (2021). The 6th Survey of Thai public health by physical examination, 2019-2020. Bangkok: Faculty of medicine, Ramathibodi hospital. Mahidol University. (in Thai)

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.

Noim, K. (2017). Overweight and obesity among Thai school-aged children and adolescents. Journal of The Royal Thai Army Nurses 18(1), 1-8. (in Thai)

Sisaaad, B. (2013). Introduction to research (9th ed.). Bangkok : Suwiriyasan Publisher. (in Thai)

Srithanya, S. Thongbai, W. & Kummabut, J. (2019). The effects of a planned behavior program on the eating and physical activity behaviors of overweight late primary school-aged children. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University, 31(2), 85-95. (in Thai)

Suksan, N. (2017). Effects of promotion self-regulation program on eating behaviors and waist circumference in older patient with obese diabetes. Master thesis (Nursing), Chulalongkorn University, Bangkok. (in Thai)

Thipkratok, S. & Phatisena, T. (2020). Effects of self-management program for health behavior modification, body mass index and waist circumference among village health volunteers with abdominal obesity. Health Promotion Center 9 Journal, 14(34), 210-223.

World Health Organization. (2000). Obesity: preventing and managing the global epidemic. World Health Organization. World Health Organization, T. (2010). Global recommendations on physical activity for health. World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30