ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส (COVID-19) เข็มกระตุ้นของบุคลากรกลุ่มงานพยาบาลโรงพยาบาลตำรวจ

ผู้แต่ง

  • ชุติมา บุญทวี โรงพยาบาลตำรวจ กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 , วัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส, เข็มกระตุ้น , การตัดสินใจ

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตจำนงการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส เข็มกระตุ้นของบุคลากรกลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากร กลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 203 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกัน โคโรนาไวรัส ค่าความเที่ยงโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยวิธีการวิเคราะห์ค่าทีและการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติคแบบทวิ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 193 คน ร้อยละ 95.1 มีความยินดีหรือตั้งใจเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัสเข็มกระตุ้น โดยมีการรับรู้ความเสี่ยงการติดเชื้อโควิดเพื่อป้องกันโรคมากที่สุด (M=4.75, SD=0.51) และรับรู้ความปลอดภัยและผลข้างเคียงของวัคซีน Covid 19 น้อยที่สุด (M=3.42, SD=1.01) การวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติคแบบทวิ พบว่า ปัจจัยการตัดสินใจฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น อย่างน้อย 1 ปัจจัย คือ การรับรู้เชิงสังคมเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัสเข็มกระตุ้นส่งผลต่อเจตจำนงการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัสเข็มกระตุ้นของบุคลากร โรงพยาบาลตำรวจ

          ดังนั้นผู้บริหารการพยาบาลควรส่งเสริมการรับรู้เชิงสังคมเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัสเพื่อเพิ่มความตระหนักและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนการตัดสินใจเข้ารับวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัสเข็มกระตุ้นของบุคลากร

  

 

References

Pratumchompoo, K. (2016). Factor of motivation protection in diseases affecting services influenza vaccination in the elderly Sansuk Subdistrict, Muang Chonburi District, Chonburi Province (Dissertation of Bachelor of Public Health). Faculty of Public Health Burapha University, Chon Buri. (in Thai).

Chuenjai, K., & Punturaumporn, B. (2021). Factors Affecting the decision to vaccinate against coronavirus (covid-19) of the population in Bangkok. (Dissertation of business administration program in finance and banking). Ramkhamhaeng University, Bangkok. (in Thai)

Trakultaweesuk, P. (2021). Factors of Influence COVID-19 Vaccine Intent and Vaccine’s Concerns Among Hospital Staffs. Journal of Research and Health Innovative Development, 3(1), 47-57. (in Thai)

Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques : Experimental designs. New York, NY : Wiley.

Kotler, P. (1997) Marketing management: analysis, planning, implementation, and control, (9th ed.). Prentice Hall, Upper Saddle River.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd.ed.) New York, NY: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30