ปัจจัยที่ส่งผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสุขภาพ , การควบคุมระดับความดันโลหิต , โรคความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 626 คน ที่ได้รับการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค ผลการศึกษา พบว่าพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม (B=3.61, p<0.01) พฤติกรรมการออกกำลังกาย (B=1.081, p<0.05) พฤติกรรมการสูบบุหรี่ (B=1.583, p<0.05) และพฤติกรรมการรับประทานยา (B=4.577, p<0.01) มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การวิจัยนี้สรุปว่าพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการรับประทานยา มีอิทธิพลไปในทิศทางเดียวกันกับความสามารถในการควบคุมระดับความดันโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีความสามารถในการทำนายได้ ร้อยละ 82
จากผลการวิจัยสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้เกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร พฤติกรรมการออกกกำลังกาย พฤติกรรมการสูบบุหรี่ และพฤติกรรมการรับประทานยาไปวางแผนในการส่งเสริมศักยภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิให้มีความสามารถในการควบคุมโรคความดันโลหิตได้ดียิ่งขึ้น
References
Bailey, D.G., Dresser, G.K., Urquhart, B.L., Freeman, D.J & Arnold, J.M. (2016). Coffee-antihypertensive drug interaction: a hemodynamic and pharmacokinetic study with felodipine. Retrieved from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27481881/
Bureau of Epidemiology Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Annual report on disease surveillance 2022. Nonthaburi: Information Center for Epidemiology; 2022. Retrieved June 20, 2022 from https://apps.moph.go.th/annual.php (in Thai)
Centers for Disease Control and Prevention. (2017). High blood pressure facts. Retrieved From: http://www.cdc.gov/bloodpressure/facts.htm
Division of Non Communicable Diseases. (2022). Non-communicable diseases. Retrieved June 20, 2022 from https://www.thaihealth.or.th/microsite/categories/5/ncds/2/173/176-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84+NCDs.html (in Thai)
Mariano, I.M., Amaral, A.L., Ribeiro, P & PugaA, G.M. (2022). Single session of exercise reduces blood pressure reactivity to stress: a systematic review and meta-analysis. Retrieved June 16, 2022 from https://www.nature.com/articles/s41598-022-15786-3
Health Education Division. (2022). Hypertension. Retrieved June 20, 2022 from http://www.hed.go.th/linkHed/446 (in Thai)
Jansongkram, N. (2022). Factors related to medication taking behaviors in hypertensive patients. EAU Heritage Journal Science and Technology, 15(2), 142-159. (in Thai)
Ruckpanich, P. (2022). VDO teaching about cardiac rehabilitation in the heart foundation of Thailand under the royal patronage. Retrieved June 15, 2022 from https://www.thaiheartfound.org/Article/Detail/140754 (in Thai)
Sapsirisopa, K. & Sapsirisopa, S. (2017). The renal complication screening development of patients with high blood pressure, Muang Nongkhai District, Nongkhai Province. EAU Heritage Journal, 11 (2). 207-214. (in Thai)
Stevens, J. (1996). Applied multivariate statistics for the social science. Lawrence Erlbaum Associate, Inc., Mahwah, New Jersey.
Sutipan, P. (2016). Research and development of a self-management program on health lifestyle behaviors and health outcomes for the elderly with hypertension. Doctor of Philosophy degree, Srinakarinwirot University. (in Thai)
Wexler, R., & Aukerman. (2006). Non-pharmacologic strategies for managing hypertension. American Family Physician, 73, 1953-1956.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทีตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และผลงานวิชาการหรือวิจัยของคณะผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นของบรรณาธิการหรือผู้จัดทํา