การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่มีภาวะแทรกซ้อนในชุมชน: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย , ภาวะแทรกซ้อน , ชุมชนบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายในชุมชนที่มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 2 ราย ด้วยการประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผนของกอร์ดอนและกระบวนการพยาบาลอนามัยชุมชน 5 ขั้นตอน ได้แก่ การประเมินภาวะสุขภาพ การวินิจฉัยการพยาบาล การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล และการประเมินผล ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยรายที่ 1 ปัญหาที่รับการส่งต่อจากโรงพยาบาล คือ ภาวะน้ำเกิน ภาวะซีด และภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่มีสาเหตุจากการพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม และการไม่ควบคุมปริมาณสารน้ำเข้าออก เป้าหมายหลักในการดูแล คือ การปรับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 ปัญหาที่รับการส่งต่อ คือ ภาวะน้ำเกิน ภาวะซีด ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ภาวะอัลบูมินในเลือดต่ำที่มีสาเหตุจากข้อจำกัดด้านความเสื่อมทางร่างกายและขาดผู้ดูแลส่งผลให้รับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่สามารถควบคุมปริมาณสารน้ำเข้าออก เป้าหมายหลักในการดูแล คือ การปรับพฤติกรรมสุขภาพและเน้นการมีส่วนร่วมของญาติ จากการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่องผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีอาการดีขึ้น
ดังนั้นการพยาบาลผู้ป่วยในชุมชนจำเป็นต้องบูรณาการกระบวนการอนามัยชุมชนร่วมกับติดตามเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่องและเน้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพควบคู่กับส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย
References
Annapanurak, R., & Manit, A. (2015). Development of nursing service system among chronic kidney disease patients receiving continuous ambulatory peritoneal dialysis by using case management concept at King Narai Hospital, Lop Buri. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing, 26(1), 133-148. (In Thai)
Chaiyasung, P., & Meetong, P. (2018). Factors predicting chronic kidney disease of patients with chronic disease in the community. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center, 35(2), 128-39.
Janthapuek, J., Soivong, P., & Phornphibul, P. (2019). Effects of a Self-efficacy Enhancement Program on Fluid Overload Management Behaviors and Decreased Glomerular Filtration Rate among Persons with Chronic Kidney Disease Receiving Non-renal Replacement Therapy. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 29(3), 66-79.
Payuha, P., Buaphan, B., & Siwina, S. (2018). A Model Development of Self-care on Chronic Kidney Disease Patients in Community Roi-Et Province. Journal of Preventive Association of Thailand, 9(2), 179-189.
Potter, P.A. & Perry, A.G. (2005). Fundamental of Nursing. 6th ed. St.Louis: Mosby.
Rattanakun, C. (2018). Food therapy in patients with chronic kidney disease before dialysis. Retrieved 20 May 2022 from https://he02.tci- thaijo.org/index.php/ThaiJPEN/article/ view/244233/166018
The Nephrology Society of Thailand . (2015). Clinical Practice Recommendation for the Evaluation and Management of Chronic Kidney Disease in Adults. Retrieved April 23, 2022, from http://www.nephrothai.org (In Thai)
Tsai, Y. C., Tsai, J. C., Chen, S. C., Chiu, Y. W., Hwang, S. J., Hung, C. C., ... & Chen, H. C. (2014).
Association of fluid overload with kidney disease progression in advanced CKD: a prospective cohort study. American Journal of Kidney Diseases, 63(1), 68-75.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทีตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และผลงานวิชาการหรือวิจัยของคณะผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นของบรรณาธิการหรือผู้จัดทํา