ประสิทธิผลของแนวทางการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นโรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ประไพศรี สายทอง โรงพยาบาลบ้านโป่ง อ. บ้านโป่ง จ. ราชบุรี

คำสำคัญ:

การจัดการความปวด , ผู้ป่วยหลังผ่าตัด , ห้องพักฟื้น

บทคัดย่อ

       การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวทางการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นโรงพยาบาลบ้านโป่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นวิสัญญีพยาบาล 10 คน และผู้ป่วยหลังผ่าตัด 30 คน เครื่องมือวิจัยสำหรับวิสัญญีพยาบาลเป็นแนวทางการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น และแบบประเมินความพึงพอใจ ค่าความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.97 เครื่องมือวิจัยสำหรับผู้ป่วยเป็นแบบบันทึกความปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า   

           1. แนวทางการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น สามารถลดความปวดเหลือ 7-10 คะแนนเมื่อพิจารณาการให้ยาแก้ปวด พบว่า ความต้องการยาแก้ปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นลดลง

           2. ความพึงพอใจของวิสัญญีพยาบาลต่อแนวทางการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เนื่องจากลดระดับความปวดอยู่ที่ 7-10 คะแนน เมื่ออยู่ในห้องพักฟื้น เวลา 15 นาที เวลา 30 นาที เวลา 45 นาที จนถึงเวลา 60 นาที คิดเป็นร้อยละ 13.3, 10.0, 26.7, 6.7 และ 6.7 ตามลำดับ

       ข้อเสนอแนะในการนำแนวทางการจัดการความปวดผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น ไปใช้ในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในหอผู้ป่วย ในรายผู้ป่วยหลังผ่าตัดมีข้อจำกัดที่ทำให้ไม่ได้เข้าห้องพักฟื้น

References

Berry, P. H., & Dahl, J. L. (2000). The new JCAHO pain standards: Implications for pain management nurses. Pain Manag Nurs, 1(1), 3-12.

Boonso, H. K., Chantwilas, S. & Suwannarat, M. (2014). Developing and evaluating the feasibility of implementing guidelines for the management of postoperative pain in recovery room. Journal of the Southern College of Nursing and Public Health Network, 1(1), 43-64. (in Thai)

Deming, W. E. (2019). PDCA: Deming Cycle. (online). Retrieved October 1, 2022 from http://adisony.blogspot.com/2012/10/edward-deming.html.

Hinkle, J. & Cheever, K. H. (2018). Brunner & Suddarth’s: Textbook of medical-surgical nursing.(14th). Philadelphia: Wolters Kluwer.

International Association for the Study of Pain. (2017). IASP Terminology. Retrieved October 1, 2022 from https://www.iasppain.org/Education/Content.aspx?ItemNumber1698.

Ngamkham, S., Krutchan, N., Sawangchai, J., Wattanakul, B., Chidnaee, S., & Keawchom, R. (2018). Knowledge of pain assessment and management of Thai nurses. Journal of Nursing and Health Care, 36(1), 81-89. (in Thai)

Payomyam, C. (2018). The Effectiveness of an Implementation of Adult Postoperative Pain Order for Postoperative Pain Management in Recovery Room, Hua Hin Hospital. Region 4-5 Medical Journal, 37(3), 262-272. (in Thai)

Polit, D.F. & Beck, C.T. (2004). Nursing Research: Principles and Methods. (7th ed.), Lippincott Williams & Wilkins, Philadelphia.

Sawangsorn, K. (2017). Pain management in patients after open heart surgery. Journal of Cardiovascular and Thoracic Nurses, 28(1), 2-15. (in Thai)

Sido, B., Teklote, J. R., Hartel, M., Friess, H., & Buchler, M. W. (2004). Inflammatory response after abdominal surgery. Best Practice & Research. Clinical Anaesthesiology, 18: 439-454.

The Royal College of Anesthesiologists of Thailand together with the Pain Education Association of Thailand. (2011). Clinical Guidance for Acute Postoperative Pain Management. (2nd ed.) Bangkok. (in Thai)

Wu, C. L., Hurley, R. W., Anderson, G. F., Herbert, R., Rowlingson, A. J. & Fleisher, L. A. (2004). Effect of postoperative epidural analgesia on morbidity and mortality following surgery in medicare patients. Regional Anesthesia and Pain Medicine, 29, 525-533.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28