ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • อารมย์ อร่ามเมือง โรงพยาบาลนภาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2 , โปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 30 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัยเป็นโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระยะเวลา 6 สัปดาห์  แบบทดสอบความรู้การดูแลตนเอง แบบสอบถามทัศนคติการดูแลตนเอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีก่อนและหลังได้รับโปรแกรม ผลการวิจัย พบว่า

1. ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานมีความรู้และทัศนคติอยู่ในระดับสูง (M= 17.46, SD= 0.81; M= 47.06, SD= 2.50) ตามลำดับ  และพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับดี (M= 45.26, SD=3.25)

2. ภายหลังการทดลอง ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนการทดลอง  (p < 0.01)

ดังนั้นการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่2 จึงควรให้ความรู้ ควบคู่กับสร้างทัศนคติที่ดีในการดูแลตนเอง เพื่อให้ผู้ป่วยเล็งเห็นความสำคัญและสามารถนำความรู้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลตนเองไปในทางที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

 

References

Akasriworn. B., Tiamchan, R., & Chawapong. W. (2016). Increasing awareness to prevent diabetes mellitus among risk group of diabetes mellitus in Nonglong subdistrict, Wiangnonglong district, Lamphun Province. Master thesis, Chiangmai University. Chiangmai. (in Thai)

American Diabetes Association. (2017). Merican diabetes association standards of medical care in diabetes-2017. Diabetes care, 40, Supplement 1, January.

Bangkhonthi District Public Health Office. (2021). The number of elderly people and their morbidity with diabetes, Bangkhonthi Distric, Samutsongkram Province. Samutsongkram: Bang Khonthi District Public Health Office. (in Thai)

Best, J. W. (1977). Research in education. (3rd ed). New Jersey: Prentice hall inc.

Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company.

Cheumthong, P., Kimsungnoen, N. & Namjantra, R. (2020). The effects of educative supportive program on self-care behaviors and HbA1c in persons newly diagnosised with type 2 diabetes mellitus. Journal of Nurses Science & Health, 43(1), 78-86. (in Thai)

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. Lawrence Erlbaum Associates Inc.

Cohen, J. (2013). Statistical power analysis for the behavioral sciences. Routledge.

Duangklad, K., Lapvongwatana, P., & Chansatitporn, N. (2020). Improvement of self-management program in uncontrolled type II diabetes patients. Journal of Health and Nursing Research, 36(1), 66-80 .(in Thai)

International Diabetes Federation. (2021). IDF diabetes atlas. 10th edition. https://www.diabetesatlas.org/en/sections/worldwide-toll-of-diabetes.html

Napalai Hospital. (2021). Statistics of Napalai hospital (Annual statistical report 2021). Napalai, Samut Songkhram: Ministry of Public Health. (in Thai)

Orem, D.E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. (2001). Nursing: concepts of practice. (6thed.). St. Louis: Mosby Year Book.

Pender, N.J., Murdaugh., C.L., & Parsons, M. A. (2006). Health promotion in nursing practice (5ed.). New Jersey : Upper Saddle River.

Sanee, A. (2014). Self Management Program in Chronic Diseases. Journal of The Royal Thai Army Nurse, 15(2), 129-134. (in Thai)

Umakorn, J., Supaporn, V. & Sawitree, S. (2021). Effect of health-promoting program on self-care behaviors of diabetic patients. Journal of Public Health Nursing, 35(2), 94-97. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28