ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายกับความคลาดเคลื่อนจากการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ของมารดาที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • วีณา ปุสสวงษ์ โรงพยาบาลดําเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
  • จีรนันท์ ลี้ฮั่วฮวด โรงพยาบาลดําเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

น้ำหนักทารก, ดัชนีมวลกาย, ความคลาดเคลื่อนจากการประเมิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ของความคลาดเคลื่อนจากคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์กับดัชนีมวลกายของมารดาก่อนคลอด  ดำเนินการโดยใช้การคาดคะเนน้ำหนักทารก 2  วิธี คือวิธีที่ 1 มีตัวแปรเป็นส่วนสูงของมดลูกและเส้นรอบวงหน้าท้องมารดา และวิธีที่ 2 มีตัวแปรเป็นส่วนสูงของมดลูก เครื่องมือวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูล  การคาดคะเนทั้ง 2 วิธีถูกนำมาเปรียบเทียบกับน้ำหนักจริงของทารกแรกเกิดเพื่อหาความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ ที่ร้อยละ 10 และร้อยละ 20 จากนั้นนำวิธีที่ดีที่สุด มาดำเนินการเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ของความคลาดเคลื่อนของการคาดคะเนทั้งสองวิธีกับดัชนีมวลกายที่ระดับต่าง ๆ ผลการวิจัย พบว่า

วิธีที่ 1 เป็นวิธีการที่มีความแม่นยำมากกว่า และพบว่าค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยของการคาดคะเนน้ำหนักทารกมีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกาย โดยค่าความคลาดเคลื่อนมีค่าเฉลี่ยเป็นลบ  เมื่อมารดามีดัชนีมวลกายระดับปกติ และมีค่าสูงขึ้นจนมีค่าเป็นบวกเมื่อดัชนีมวลกายสูงขึ้นถึงระดับอ้วนระดับที่ 1 และสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามดัชนีมวลกายที่สูงขึ้น

ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพสามารถประยุกต์ใช้ความสัมพันธ์นี้ในทางปฏิบัติเพื่อการปรับแก้ค่าการคาดคะเนน้ำหนักทารกตามดัชนีมวลกายของมารดาให้มีความแม่นยำมากขึ้น

 

References

Dare, F., Ademowore, A., Ifaturoti, O., Nganwachu, A. (1990). The value of symphysio-fundal height and abdominal girth measurement in predicting fetal weight. Int J Gynecol Obstet, 31, 243-248.

Fox, N.S., Bhavsar, V., Saltzman, D.H., Rebarber, A., & Chasen, S.T. (2009). Influence of maternal body mass index on the clinical estimation of fetal weight in term pregnancies. Obstet Gynecol, 113(3), 641-5.

Gonzalez, M.G., Reed, M.L., Center, K.E. & Hill, M.G. (2017). Does maternal body mass index have an effect on the accuracy of ultrasound-derived estimated birth weight?: a retrospective study. J Ultrasound Med, 36(5), 1009-1014.

Itarat, Y., Buppsiri, P. & Sophonvivat, S. (2017). Fetal weight estimation using symphysio-fundal height and abdominal girth measurements in different pre-pregnancy body mass indices. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology, 25, 167-174.

Johnson, R.W., Toshach, C.E. (1954). Estimation of fetal weight using longitudinal mensuration. Am J Obstet Gynecol, 68(3), 891-896.

Leehuahuad, J. (2018). Study on appropriate method for fetal birth weight estimations. Provincial academic conference for fiscal year of 2018, Ratchaburi public health.

Malik, R., Thakur, P., Agarwal, G. (2016). Comparison of three clinical and three ultrasonic equations in predicting fetal birth weight, Int J Reprod Contracept Obstet Gynecol, 5(1), 210-216.

Numprasert W. (2004). A Study in Johnson’s formula fundal height measurement for estimation of birth weight, AU JT, 8(1), 15-20.

Tongsong, T., Wannapirak, C., Chaichonlatrap W. (1992). Estimation of fetal weight in utero by ultrasound. Thai J Obstet Gynecol, 4, 15-22.

Torloni MA, Sass N, Sato JL, Carolina A, Renzi P, Fukuyama M, Lucca PR. (2008). Clinical formulas, mother’s opinion and ultrasound in predicting birth weight, Sau Paulo Med. J, 126(3).

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed.). Harper and Row Publications.

Yiheyis, A., Alemseged, F,, Segni, H. (2016). Johnson’s formula for predicting birth weight in pregnant mothers at Jimma university teaching hospital, South west Ethiopia, Med J Obstet Gynecol, 4(3), 1-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28