ความสัมพันธ์ของความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • สุณี สุขเสริม

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ , พฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อน , ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรอบรู้ทางด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน2) ศึกษาระดับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานในอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 138 คน  เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า

             1. คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางด้านสุขภาพภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (M= 3.01, SD= .49)  ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะการตัดสินใจ และคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ ทักษะการสื่อสาร (M= 3.25, SD = 0.53; M = 2.76, SD = 0.57) ตามลำดับ

             2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง  (M= 3.41, SD =0.28)  ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ การรับประทานยาและการพบแพทย์ และคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ การออกกำลังกาย (M= 4.78, SD= 0.36; M= 2.29, SD= 0.69) ตามลำดับ

             3. ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพด้านการจัดการตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =.622, p<.01)

       ดังนั้นการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานจึงควรส่งเสริมความรอบรู้ทางด้านสุขภาพให้แก่ประชาชน  โดยเฉพาะด้านความสามารถจัดการตนเองเพื่อแนวโน้มการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลสุขภาพในทางที่เหมาะสม

 

  

References

Boonporn, J. 2020. The Development of Care Management Model for Diabetic and Hypertensive Patients in Bangrajun District, Sing Buri Province. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand. 10, 2 (Sep. 2020), 322–340. (in Thai)

Chombueng Crown Prince Hospital. (2023). Diabetes report on 2023 (Paper document). (in Thai)

Charoenruen, K. (2023). Association between Health Literacy and Self-care Behaviors among Diabetic Pateints in Kutchomphu Subdistrict, Phiboon Mangsahan District, Ubon Ratchatani Provice. Thai Journal of Public Health and Health Educatin; TJPHE, 3(2), 1-13. (in Thai)

Chiukaew, P., Chadajan, B., Sangsri, L., Hinsom, M. and Chatwirote, U., (2017). Perceived Health and Behavioral Health of Diabetes Patients Who Received Services in Hospital Health

Bueng Bua. Wachirabarami District Pichit Province. Report from the 4th National Academic Conference. Research Institute, Kamphaeng Phet Rajabhat University. (in Thai)

Department of Disease Control, Ministry of Public Health.(2020) Diabetes Situation Report Hypertension and related factors in 2566. Nonthaburi : Aksorngraphic & design.

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2022). Diabetes situation on World Diabetes Day 2022. [online] https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.

Hinkle, D. E. (1998). Applied statistics for the behavior sciences (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.

Kabmanee, N., Ouichareon, S. & Yothathai, T. (2021). Correlation between Health Literacy and Self-Care Behavior among Type 2 Diabetes At Nonsung Subdistrict, Mueang District, Udon Thani Province. Journal of Sakon Nakhon Hospital; 24(1). 23-33.

Kaewdamkeng, K. (2018). Heath Literacy: Access, understand and apply. Printed 2nd Bangkok : Ammarin Printing & Publiching Co.Lt.

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social science & medicine, 67(12), 2072-2078.

Rattaaawarang, W., Chaantha, W. (2018). Health Literacy of Self-care Behaviors for Blood Glucose Control inPatients with Type 2 Diabetes, Chainat Province. The Journal of Baromarajonani College of Nusing, Nakhonratchasima, 24(20), 35-51. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-22