ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรี ในจังหวัดราชบุรี
พฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการมารับบริการ , มะเร็งปากมดลูก , สตรีบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรีที่มารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรี ในจังหวัดราชบุรี และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรี ในจังหวัดราชบุรี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากสตรีอายุ 30-60 ปี ทั้งที่เคยตรวจและไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกสตรีในเขตจังหวัดราชบุรี จำนวน 400 คน โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา เช่น ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน เช่น การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียรสัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณที่นัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการวิเคราะห์ลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี ร้อยละ 62 สถานภาพเป็นคู่ ร้อยละ 47.1 ระดับการศึกษาเป็นระดับปริญญาตรีร้อยละ 55.4 มีอาชีพรับจ้าง จํานวน ร้อยละ 36.7 และผู้มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 71.3 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณการทดสอบอำนาจในการทำนาย พบว่า โมเดลสามารถอธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรี ในจังหวัดราชบุรี โดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า โมเดลสามารถอธิบายพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรี ได้ร้อยละ 30.1 เมื่อพิจารณารายปัจจัย บพว่า ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก (Beta เท่ากับ 0.206, 95% CI: 0.924 – 2.703, p < .05) การรับรู้ผลดีในการตรวจมะเร็งปากมดลูก (Beta เท่ากับ 0.232, 95% CI: 1.233 – 3.395, p < .001) และแรงสนับสนุนทางสังคม สมาชิกในครอบครัว เพื่อน บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข/ สื่อมวลชน (Beta เท่ากับ 0.257, 95% CI: 1.224 – 3.013, p < .001) ส่งผลต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรี ในจังหวัดราชบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
References
Anuruk, Y. (2000). Health education process and health behavior development 2000. Bangkok: Sigma Graphic Design.
Boonrat, S., Benjakul, S., Kengkarnpanich, M., & Kengkarnphanich, T. (2018). Results of the study of the program to promote cervical cancer screening. By applying the theory of health belief patterns together with social support. of Bueng Bon Subdistrict Health Promoting Hospital Nong Suea District Pathum Thani Province. Health Education Journal, 41(2), 90-101.
Becker et. al. (1997). The Health Belief model and Personal Health Behavior. New Jersey:
Harris & Guten. (1979). Nursing concepts of practice. 2nd. New York: McGraw Hill.
Health Data Center, Ministry of Public Health .(2023). Population pyramid classified by gender and age group. https://rbr.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0&id=db4e8d42e1234a75bd03d430c31feb2
Imsomboon, T (1989). Health education teaching for health behavior development. Health education, physical education, recreation. 15 (4): 11-15.
Jirojkul, P. (2016). Concept, theory of health promotion and its application. 1st edition, Bangkok: 9 Soi Ladprao 64, Intersection 14, Wang Thonglang Subdistrict.
Kaewwandee N., Siriswang W., & Borriharn S. (2014). Factors relating to the participation of people and control of dengue hemorrhagic fever in Nakornjaedee Subdistrict Pasang District, Lamphun Province. National and International Conference Interdisciplinary Research for Local Development Sustainability (Proceeding). 73-86. (In Thai)
Mattico, M. (1991). Handbook of behavioral health research. Concepts and theories on behavioral health. Ministry of Public Health: Health Behavior Research Network Project Medical and Public Health Coordination Center
National Cancer Institute. (2020). Action plan for prevention and control of cervical cancer. Bangkok.Siam Offset Company Limited.
Rosenstock, I. M. (1960). Gaps and potentials in health education research. Health Education Monographs, 1(8), 21-27.
Suthasmalee, S. & Siwadune, T. (2015). Can viewing a video of colposcopic examination improve patient knowledge and satisfaction with the procedure? A prospective randomized controlled trial. Thai Journal of Obstetrics and Gynecology, 23(2), 104-112.
Tassakul, C. (1998). Behavioral science in public health. Bangkok: United States of America.
Wanphoklang, A. (2013) Knowledge and awareness of oral hygiene. Self-health care behavior oral health conditions and the relationship between these factors in pregnant women receiving antenatal services at Tha Tum Hospital, Public Health Dentistry, 22(1), 69-78.
World Health Organization. (2013). International agency of research on cancer 2008. Geneva: The Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทีตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และผลงานวิชาการหรือวิจัยของคณะผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นของบรรณาธิการหรือผู้จัดทํา