การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามบทบาทของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน

ผู้แต่ง

  • ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • จิริยา อินทนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นงนุช วงศ์สว่าง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ชลธิชา บุญศิริ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ทฤษฎีทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล, พฤติกรรมสุขภาพ, พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน

บทคัดย่อ

ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยในปัจจุบันส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม  ซึ่งการปฏิบัติพฤติกรรมของบุคคลมีจุดเริ่มต้นจากเหตุผล ทัศนคติ และความเชื่อของแต่ละบุคคลที่นำไปสู่การปฏิบัติพฤติกรรมต่างๆ ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลเป็นทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์ที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติ ความตั้งใจ/ เจตนา และพฤติกรรมที่เกิดจากควบคุมได้ด้วยตนเอง  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหาะสมจึงจำเป็นต้องปรับทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรม  สร้างต้นแบบสุขภาพที่ดีที่จะนำไปสู่การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง โดยใช้กระบวนการ  5 ขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาสาเหตุของพฤติกรรม การปรับทัศนคติต่อพฤติกรรม การสร้าง แรงบันดาลใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  การส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์  และการประเมินผล  ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาจไม่สำเร็จในระยะแรกต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนรวมทั้งการเสริมแรงและการติดตามอย่างต่อเนื่องจึงเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างยั่งยืน

 

References

Ajzen I. and Fishbein M. (1980). A theory of reasoned action: Some applications and implications. Nebraska Symposium on motivation, 27, 65-116.

Ajzen, I. (1985). From intentions to actions: a theory of planned behavior. In Action control: from cognition to behavior (pp. 11-39). Berlin: Springer-Verlag.

Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2), 179-211.

Ajzen, I. (2011a). Behavioral interventions: design and evaluation guided by the theory of planned behavior. In Social psychology for program and policy evaluation (pp. 74–100). New York: Guilford.

Ajzen, I. (2012). The theory of planned behavior. In Handbook of theories of social psychology Vol. 1 (pp. 438–459). London: Sage.

Bass, B. M. (1985). Leadership: Good, better, best. Organizational dynamics, 13(3), 26-40.

Bloom, Benjamin S.J. (ed). (1975). Taxonomy of Education Objective, Hand Book 1 : Cognitive Domain.New York : David Mckay. Lewin, Kurt. (1951).

Ernst W. and Kneavel M. E. (2020). Development of a Peer Education Program to Improve Concussion Knowledge and Reporting in Collegiate Athletes. National Library of Medicie, 55(5), 448-455.

Goldenson, M. Robert. (1984). Longman Dictionary of Psychology and Psychiatry. New York : Longman

Good, C.V. 1973. Dictionary of education. 3rd ed. New York : McGraw-Hill.

Hale, J. L., Householder, B. J., & Greene, K. L. (2002). The theory of reasoned action. The persuasion handbook: Developments in theory and practice, 14(2002), 259-286.

Jeihooni, A. K., Harsini P. A., Kashfi S. M., Amirkhani M., and Zargar A. Y. (2021). Investigating the predictors of routine HIV screening behaviors in nurses based on theory of reasoned action. Polish Annals of Medicine, 28(1), 1-5.

Julintron, A., Yoelao, D., Saisombut, P. (2019). Theory of Reason Action and Theory of Planned Behavior: An Application to Business. Humanities, Social Sciences and Arts, 12(5), 128-145.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-03