การพัฒนาระบบการเฝ้าระวังอาการนำก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติในหอผู้ป่วยสามัญ
คำสำคัญ:
อาการนำก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต, ความรู้, สมรรถนะ, การปฏิบัติ, อาการทรุดลงบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังอาการนำก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติ และศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังอาการนำก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติ การวิจัยประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ ศึกษาสถานการณ์ พัฒนาระบบ และประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาล 202 คนและผู้ป่วย 200 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้สมรรถนะ และการปฏิบัติด้านการเฝ้าระวังอาการนำก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า
หลังการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังอาการนำก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติ ด้วยการจัดทำเป็นโปรแกรมการลงข้อมูลและคำนวณ MEWS score เพื่อความครบถ้วน รวดเร็ว นำสู่การบริหารจัดการทางการพยาบาลที่เหมาะสม พร้อมทั้งประกาศเป็นนโยบายของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลราชบุรี และเน้นย้ำเรื่องการนิเทศหน้างาน พบว่าคะแนนเฉลี่ยด้านสมรรถนะและด้านการปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (p <0.05) ส่วนด้านความรู้ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าอุบัติการณ์อาการทรุดลงลดลงได้แก่ การใส่ท่อช่วยหายใจ การช่วยฟื้นคืนชีพ การย้ายไอซียูโดยไม่ได้วางแผน และการเสียชีวิต
ดังนั้นควรมีการนำระบบการเฝ้าระวังอาการนำก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติไปขยายผลในทุกหอผู้ป่วยและขยายผลไปโรงพยาบาลของเขตสุขภาพที่ 5
References
Brekke, I. J., Puntervoll, L. H., Pedersen, P. B., Kellett, J., & Brabrand, M. (2019). The value of vital sign trends in predicting and monitoring clinical deterioration: A systematic review. PloS one, 14(1), e0210875. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0210875
Chumnui, S. (2023). Effect of the development of the Modified Early Warning Scores (MEWS) system for monitoring and managing the patient's symptoms before entering critical condition inpatient nursing jobs Rong Kham Hospital Kalasin Province. Journal of health and environmental education, 8(4), 216-224. (in Thai)
Churpek, M. M., Snyder, A., Han, X., Sokol, S., Pettit, N., Howell, M. D., & Edelson, D. P. (2017). Quick Sepsis-related Organ Failure Assessment, Systemic Inflammatory Response Syndrome, and Early Warning Scores for Detecting Clinical Deterioration in Infected Patients outside the Intensive Care Unit. American journal of respiratory and critical care medicine, 195(7), 906-911.
Goulden, R., Hoyle, M. C., Monis, J., Railton, D., Riley, V., Martin, P., Martina, R., & Nsutebu, E. (2018). qSOFA, SIRS and NEWS for predicting inhospital mortality and ICU admission in emergency admissions treated as sepsis. Emergency medicine journal : EMJ, 35(6), 345–349.
Jantarat, P., Rattanaphan, P., Kunsete, P., & Thiengchanya, P. (2023). Development of Early Warning Sign Model in High-Risk Patient, Songkhla Hospital. Journal of Health Science, 32(1), 109-119. (in Thai)
Kellett, J., Wang, F., Woodworth, S., & Huang, W. (2013). Changes and their prognostic implications in the abbreviated VitalPAC™ Early Warning Score (ViEWS) after admission to hospital of 18,827 surgical patients. Resuscitation, 84(4), 471–476.
Kim, W. Y., Shin, Y. J., Lee, J. M., Huh, J. W., Koh, Y., Lim, C. M., & Hong, S. B.(2015). Modified early warning score changes prior to cardiac arrest in General wards. PloS one, 10(6), e0130523. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0130523
Namkoa, T., Chitsungnoen, S., & Boonkong, N. (2013). Development of clinical nursing practice guideline of warning sign assessment for traumatic patients at Traumatic department, Maharat Nakorn Ratchasima Hospital. Journal of nurses association of Thailand, North-Eastern Division, 31(3), 163-169. (in Thai)
Schellenberger, S., Shi, K., Michler, F., Lurz, F., Weigel, R., & Koelpin, A. (2020). Continuous in-bed monitoring of vital signs using a multi radar setup for freely moving patients. Sensors (Basel, Switzerland), 20(20), 5827.
Suwanvaree, M. (2011). Organization structure. https://www.gotoknow.org/posts/458799. (in Thai)
Wang, J., Hahn, S. S., Kline, M., & Cohen, R. I. (2017). Early in-hospital clinical deterioration is not predicted by severity of illness, functional status, or comorbidity. International journal of general medicine, 10, 329–334.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทีตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และผลงานวิชาการหรือวิจัยของคณะผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นของบรรณาธิการหรือผู้จัดทํา