ปัจจัยเสี่ยงและแนวทางการลดความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
ปัจจัยเสี่ยง , แนวทางลดความเสี่ยง , ภาวะสมองเสื่อมบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี และ 2) ศึกษาแนวทางการลดความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ ระยะที่ 1 การศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ เป็นผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 401 คน ที่ได้รับการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และระยะที่ 2 การศึกษาแนวทางการลดความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ เป็นผู้สูงอายุจังหวัดนนทบุรี จำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมที่มีดัชนีความสอดคล้อง 0.67-1 และค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.82 และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่มที่มีดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติการถดถอยโลจิสติก และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษา พบว่า
1. ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ อายุ ความไม่สามารถในการทำกิจวัตรประจำวันและภาวะไขมันในเลือดสูง โดยเพิ่มโอกาสเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุเป็น 1.1, 2.54, และ 3.42 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Adjusted OR = 1.1, 2.54, 3.42 ตามลำดับ; p <.05)
2. แนวทางการลดความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย นโยบายการดูแลผู้สูงอายุ แนวทางการปฏิบัติงานของทีมสุขภาพ การเสริมสร้างศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุ และการเพิ่มโอกาสของผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี
ดังนั้นจึงเสนอแนะให้นำผลการศึกษาไปใช้ในการพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
References
Aroonsang, P., Trakulkajornsak, B., Satthapisit, S., Moungkote, K., Kunleun, S., & Subindee, S. (2019). Comprehensive care system innovation for older persons with dementia: BanFang District Model. Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice, 6(2), 115-130. (in Thai)
Brain, J., Greene, L., Tang, E.Y.H., Louise, J., Salter, A., Beach, S., Turnbull, D., Siervo, M., Blossom, C. M. (2023). Cardiovascular disease, associated risk factors, and risk of dementia: An umbrella review of meta-analyses. Frontiers in Epidemiology, 3, 1-13.
Chaowilai, C., Poonsri, W., & Tanpanich, T. (2022). Guidelines for protecting the elderly from dementia. Academic Journal of Community Public Health, 8(2), 8-15. (in Thai)
Department of Older Persons. (2025). Situation of the elderly. https://www.dop.go.th/th/statistics_side?content=1&sub=2. (in Thai)
Harnsomskul, R. & Jayathava, V. (2024). Forecasting the number of inpatients with dementia and Alzheimer's disease in Thailand. Academic Journal of Community Public Health, 10(4), 74-85. (in Thai)
Institute of Geriatric Medicine. (2008). A comparison of the relationships between the Mini-Mental State Examination-Thai 2002 (MMSE-Thai 2002) and the Thai Mini-Mental State Examination (TMSE) in screening for dementia in older adults. Bangkok: CGtool Co.,Ltd.
Kawitu, K. (2013). Prevalence and Associated Factors with Dementia in Elderly; Lampang Province. Thesis of Master of Science (Public Health). Infectious Diseases and Epidemiology, Mahidol University.
LaPlume, A.A., McKetton, L., Anderson, N.D., & Troyer, A.K. (2022). Sex differences and modifiable dementia risk factors synergistically influence memory over the adult lifespan. Alzheimer's & Dementia : Diagnosis, Assessment & Disease Monitoring, 14(1), e12301.
Livingston, G., et. al. (2020). Dementia prevention, intervention, and care: 2020 report of the Lancet Commission. The Lancet Commissions, 396, 413-446.
Rathachatranon, W. (2019). Determining an Appropriate Sample Size for Social Science Research: The Myth of using Taro Yamaneand Krejcie & Morgan Method Interdisciplinary Academic and Research Journal, 6(1), 26-57. (in Thai)
Saipanya, A. (2022). Prevalence and factors associated with dementia and mild cognitive impairment (mci) among elderly in Na-Mafuang Subdistrict, Amphur Muang, Nongbua Lamphu Province. Udonthani Hospital Medical Journal, 30(3), 376-386. (in Thai)
Silpaanan, D. (2016). Study on the prevalence of dementia in the elderly at Bang Kruai Hospital, Journal of Medical and Public Health Region 4, 6(1), 1-10. (in Thai)
Sirirat, C. (2020). Prevalence and factors associated with dementia among elderly patients in the psychiatric department Mahasarakham Hospital. Mahasarakham Hospital Journal, 17(2), 35-47. (in Thai)
The Dementia Association of Thailand. (2012). Summary of the brainstorming meeting to develop a policy for prevention, treatment and care of dementia patients in Thailand. Nonthaburi: The Graphico Systems Co.,Ltd. (in Thai)
World Health Organization. (2023). Dementia. https://www.who.int/news-room/fact-sheets//detail/dementia
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory statistics, (2nd Edition). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทีตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และผลงานวิชาการหรือวิจัยของคณะผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นของบรรณาธิการหรือผู้จัดทํา