บทบาทของความเชื่อด้านสุขภาพในพฤติกรรมการบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์ที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน กรณีศึกษาในเขตสุขภาพที่ 5

ผู้แต่ง

  • ศริณธร มังคะมณี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ขวัญใจ เพทายประกายเพชร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความเชื่อด้านสุขภาพ, ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ , พฤติกรรมการบริโภคอาหาร , หญิงตั้งครรภ์ , ค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์ และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน ในเขตสุขภาพที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ 300 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์เพียร์สันและการถดถอยเชิงพหุผลการวิเคราะห์  ผลการวิจัย พบว่า

ความเชื่อด้านสุขภาพและความรู้เกี่ยวกับสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญ  และปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับต่ำกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญ  การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ พบว่า ความเชื่อด้านสุขภาพ ประกอบด้วย การรับรู้ถึงความเสี่ยง การประเมินความรุนแรงของผลกระทบ การตระหนักถึงประโยชน์จากการปรับพฤติกรรม  ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพ และปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับสุขภาพสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการบริโภคอาหารร้อยละ 54.70  (Adjusted R2  เท่ากับ 0.547)

ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเสริมสร้างความเชื่อด้านสุขภาพ การพัฒนาความรู้ ด้านสุขภาพ และการสนับสนุนจากปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์ตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารที่เหมาะสม อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งในมิติสุขภาพของแม่และทารกในระยะยาว

References

Centers for Disease Control and Prevention . (2021). Obesity Among Women of Childbearing Age. https://www.cdc.gov/obesity/data/childbearing.html

Champion V., L. & Skinner C. S. (2008). The health belief model. In K. Glanz B. K. Rimer & K. Viswanath (Eds.) Health behavior and health education Theory research and practice (pp. 45-65). Jossey-Bass.

Cochran, W., G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). John Wiley & Sons.

Duncanson, K., Burrows, T., Holman, B., & Collins, C. (2018). Family perceptions of benefits and challenges of child dietary behavior change. Health Education & Behavior, 45(4), 573–580.

Kominiarek M. A. & Peaceman A. M. (2017). Gestational weight gain. American Journal of Obstetrics and Gynecology 217(6) 642-651. https//doi.org/10.1016/j.ajog.2017.05.044

Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology, 140, 1-55.

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259–267.

Rasmussen K. M. & Yaktine A. L. (Eds.). (2009). Weight gain during pregnancy Reexamining the guidelines. National Academies Press.

Rosenstock, I. M., Strecher, V. J., & Becker, M. H. (1988). Social learning theory and the health belief model. Health Education Quarterly, 15(2), 175–183.

Rudolph M. C. McManaman J. L. & Neville M. C. (2020). Obesity and pregnancy. Annual Review of Physiology 82 421-439. https//doi.org/10.1146/annurev-physiol-021119-034542

World Health Organization. (2020). Obesity and overweight.https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-22