ความเที่ยงตรงของการประเมินปริมาณปัสสาวะจากถุงปัสสาวะด้วยตาตรวจสอบด้วยอุปกรณ์ Super Save โดยวิสัญญีแพทย์และวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ผู้แต่ง

  • วันเพ็ญ กันกา โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
  • พัทยา สมใจเพ็ง โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
  • ขนิษฐา พันธุ์สุวรรณ โรงพยาบาล เจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

อุปกรณ์ Super Save, ความเที่ยงตรงของการประเมินปริมาณปัสสาวะ

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางเกี่ยวกับการประเมินปริมาณปัสสาวะของผู้ป่วยระหว่างการผ่าตัดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการตายจากการให้สารน้ำทดแทนในปริมาณที่ไม่เหมาะสม วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเที่ยงตรงของการประเมินปริมาณปัสสาวะจากถุงปัสสาวะด้วยตา โดยตรวจสอบด้วยอุปกรณ์ Super Save วัตถุประสงค์รอง คือ ศึกษาราคาอุปกรณ์ Super Save วิธีดำเนินการวิจัย ประชากร คือ วิสัญญีแพทย์และวิสัญญีพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ วิสัญญีแพทย์และวิสัญญีพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรีจำนวน 24 คน เครื่องมือวิจัย คือ อุปกรณ์ Super Save และถุงปัสสาวะใส่น้ำประปาผสมน้าดอกคำฝอย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบบันทึกข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างและส่วนที่ 2 คือ ข้อมูลความเที่ยงตรงของการประเมินปริมาณปัสสาวะ กลุ่มตัวอย่างประเมินปริมาณน้ำประปาผสมชาดอกคำฝอยจากถุงปัสสาวะ รุ่นและยี่ห้อที่ใช้เป็นประจำในห้องผ่าตัด คนละ 20 ระดับน้ำ (5 ถึง 500 มิลลิลิตร(มล.) ผู้วิจัยบันทึกปริมาณน้ำที่กลุ่มตัวอย่างประเมินและจากอุปกรณ์ Super Save ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายในแผนกวิสัญญี (หัวต่อชนิดสามทางสายดูดเสมหะ กระบอกฉีดยา 10 มล.สายอเนกประสงค์และขวดน้ำกลั่นที่ใช้แล้วขนาด 1,000 มล.) ระยะเวลาเก็บข้อมูล 1 เมษายน ถึง 30 มิถุนายน 2561 วิเคราะห์และนาเสนอค่าความเที่ยงตรงของการประเมินปริมาณปัสสาวะจากถุงปัสสาวะด้วยตาตรวจสอบด้วยอุปกรณ์ Super Save ด้วย สถิติเชิงพรรณนา คือ จำนวนและร้อยละ

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างประเมินปริมาณน้ำเฉลี่ยได้ต่ำกว่าค่าจริงทุกระดับ โดยมีความเที่ยงตรงของการประเมินปริมาณปัสสาวะ คือ ประเมินได้มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 90 ของค่าจริง จำนวนน้อยมาก คือ ร้อยละ 0-37.5 โดยที่ระดับ 40,70,90,100,130,150 และ 470 มล. ไม่มีกลุ่มตัวอย่างรายใดประเมินค่าได้เที่ยงตรงเลย และที่ระดับปัสสาวะปริมาณน้อย คือ 5,10 และ 15 มล.กลุ่มตัวอย่างจะประเมินค่าได้เที่ยงตรงมากที่สุด คือ ร้อยละ 37.5,37.5 และ 25 ของจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดตามลำดับราคาอุปกรณ์ Super Save 27.05 บาท

ข้อเสนอแนะ การประเมินปริมาณปัสสาวะจากถุงปัสสาวะด้วยตาโดยวิสัญญีแพทย์และวิสัญญีพยาบาลมีความเที่ยงตรงต่างมาก การนำอุปกรณ์ super save มาใช้ตรวจสอบสามารถทำให้การประเมินปริมาณปัสสาวะมีความเที่ยงตรงมากขึ้นและอุปกรณ์มีราคาย่อมเยา

References

เกศกนก ศรีวิทะ,สุรพงษ์หล่อสมฤดี, กันยาพร สุวรรณา, นฐธิกานตร์ เจริญรัตนเดชะกูล และพนิตตา พลาศรี. (2559). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดช่องท้องแบบฉุกเฉินภายใต้การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารสภาการพยาบาล.31(4), 76-90.

ฤติน กิตติกรชัยชาญ. (2557). การจัดการทางวิสัญญีเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัด. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 16(4), 649-70.

การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่ายปัสสาวะ. (ม.ป.ป.) สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561, จากวิกิพีเดีย http://www.bcnyala.ac.th/file/sunkansuksa/ovc1.doc.

พงศกร ประวัติดี. (2559). พลังของวัตถุต่อภาวะแรงโน้มถ่วง.ปริญญาศิลปะบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พงศ์เทพ ธีระวิทย์.ภาวะช็อค (Shock).(ม.ป.ป.).หน่วยโรคระบบทางเดินหายใจและเวชบาบัดวิกฤติภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม. 2561 จากวิกิพีเดีย https://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/.../Shock.pd.

ยุพยงค์ กุลพธิ์, อรพรรณ โตสิงห์, สุพร ดนัยดุษฎีกุลและ สุณีรัตน์ คงเสรีพงศ์. (2557). ปัจจัยทำนายการเกิดกลุ่มอาการตอบสนองการอักเสบทั่วร่างกายของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องในระยะ 24ชั่วโมงแรก.Thai Journal of Nursing Council. 29(1), 5-14.

วราภรณ์ จันทร์สุภาเสน, สุภาพร หลวงฟองและขวัญจิรา ไผ่เครือ. (2559).ความคลาดเคลื่อนของการตวงปัสสาวะด้วยถุงเปรียบเทียบกับการตวงด้วยขวดมาตรฐาน. ประชุมวิชาการชมรมเครือข่ายโรงพยาบาล Better Research for Better Health ณ โรงแรมสวนบัว รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่.

สุกัญญา เดชอาคม, อังศุมาศ หวังดี และอัญชลา จิระกุลสวัสดิ์. (2557). การพยาบาลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น. วิสัญญีสาร, 40(1), 46-62.

Joshi GP.(2015). Intraoperative fluid management .(Electronic version). Retrievedfrom http://www.uptodate.com/contents/intraoperative-fluidmanagement source=search_result&search =colloid&selected Title=2%7E149.

Kaye A.D.(2011) Fluid management. In: Miller RD, editor.Basic of anesthesia. 6th ed. Philadelphia: ElsevierSauders; 2011. p. 364-71.

Openanesthesia.org.(2016). Fluid Management cited 2016 Jan 16. (Electronic version). Retrieved from http://www. openanesthesia.org/fluid-management/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-01