ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
ปัจจัยเสริมด้านบริการ, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจำนวน 370 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จากจำนวนผู้สูงอายุจำนวน 4,654 คน ซึ่งคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 101 ข้อ ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ วิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุโดยวิธีแบบเป็นขั้นตอน
ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( = 3.79, S.D.= 0.74) ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ปัจจัยนำ และปัจจัยเอื้อ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < .05) จากผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุแบบเป็นขั้นตอน พบว่า ปัจจัยเสริมด้านบริการ (r=0.485) ด้านครอบครัว (r=0.046) และด้านเศรษฐกิจ (r=0.016) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพได้ ร้อยละ 23.5 ( p < .01) ข้อเสนอแนะ การได้รับปัจจัยเสริมด้านบริการที่ดี ด้านครอบครัว และด้านเศรษฐกิจ เป็นตัวแปรสำคัญที่กระตุ้นให้ผู้สูงอายุมีการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดี ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรสาธารณสุขในการนาไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุต่อไป
References
งานผู้สูงอายุ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. (2562). รายงานสรุปผู้สูงอายุประจำปี 2561. เอกสารอัดสำเนา.
ชนินทร์ งามแสง. (2559). การจัดการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในเขตตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์.
ทวีศักดิ์ กสิผล, ภัทรา เล็กวิจิตรธาดา และอัจฉรา จินายน. (2555). ปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก, 15(30), 31-44.
ธรรมพร บัวเพ็ชร. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ทักษิณ).
ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์. (2557). ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี.
วรากร เกรียงไกรศักดา. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์).
สรวงทิพย์ ภู่กฤษณา กัญญาวีณ์ โมกขาว และสุริยา ฟองเกิด. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของวัยรุ่นในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลเมืองชลบุรี. รายงานวิจัย. ชลบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชลบุรี. .
สุวพิชชา ประกอบจันทร์ และคณะ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายตำบลธาตุ อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารฉบับพิเศษ ประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย, 12 (ฉบับพิเศษ), 543-552.
เสรี ลาชโรจน์. (2537). หลักเกณฑ์และวิธีการวัดและประเมินผลการศึกษาในโรงเรียน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทยัธรรมาธิราช.
Bloom, B.S. et al. (1971). Hand Book on formative and summative evaluation of student
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว