พฤติกรรมการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกผัก อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พยงค์ ศรีเจริญ ภาควิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • สุวัฒนา เกิดม่วง ภาควิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ศักดิกร สุวรรณเจริญ ภาควิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ธินกร ไฝเพชร ภาควิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

เกษตรกรผู้ปลูกผัก, พฤติกรรมการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาความสามารถในการพยากรณ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกผัก อำเภออู่ทอง กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรผู้ปลูกผักเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม จำนวน 119 ราย คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลากจากรายชื่อเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นภายใต้กรอบแนวคิด PRECEDE (2005) มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง .71-.73 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ (1) ลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกผักมีแรงงานเฉลี่ยจำนวน 2.89 คน ส่วนใหญ่มีขนาดถือครองที่ดินและขนาดพื้นที่ปลูกผักไม่เกิน 5 ไร่ ใช้แหล่งเงินทุนของตนเอง มีกำไรจากการปลูกผักไม่เกิน 5,000 บาทต่อปีเพาะปลูก และเกษตรกรผู้ปลูกผักส่วนใหญ่ ไม่เคยได้รับการอบรมการป้องกันและกาจัดศัตรูพืช (2) ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกผักมากกว่าครึ่งหนึ่งมีความรู้ในระดับปานกลาง (3) พฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช พบว่าเกษตรกรผู้ปลูกผักครึ่งหนึ่งมีพฤติกรรมปฏิบัติพอกับไม่ปฏิบัติ (4) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า กำไรในการปลูกผักต่อปีเพาะปลูก และความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช มีอิทธิพลเชิงบวกร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการป้องกันและกาจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกผักโดยมีค่าสัมประสิทธิ์การอธิบาย (R2) เท่ากับร้อยละ 7.30 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

References

Best, J. W. (1977). Research in education. (3rd ed.).

Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Boonrod, T., & Simla, W. (2012). Factors relating to pesticide preventive behaviors of agricultural workers. Journal of Public Health,42 (2), 103-113. [in Thai]

Buatong, A., & In-muang, U. (2013). Behavior of pesticide use by tomato farmers in Ban Ladnapeang, Swatee sub-district, Muang district, Khon Kaen province. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University,8 (25), 519-526. [in Thai]

of Occupational and Environmental Diseases. (2014). Implementation of preventive measures to prevent, control diseases and health hazards of agricultural workers. Nonthanburi: Department of Disease Control. [in Thai]

Chaisombut, D., Kaewjiboon, J., & Yana, A. (2017). Factors influencing pesticide use behaviors among farmers: A case study in tambon San Pamuang, amphur Muang, Phayao province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(Suppl), s305-316. [in Thai]

Daenseekaew, S., Klungklang, R., & Sarantittichai, K. (2015). Experiences of farmers in preventing illness related to rice growing and harvesting. Journal of Nursing and Health Care, 33, 134-44. [in Thai]

Dangkrean, B., Rattanakomol, P., Salaauoyporn, A., & Surinarbhorn, M. (2017). Factors relating to pesticide prevention behaviors among agricultural workers, Chainat province. Journal of Nursing and Education, 10(4), 107-122. [in Thai]

Daniel, W.W. (1995). Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. (6th ed.). New York: John Wiley & Sons.

Green, L.W. & Kreuter, M.W. (2005). Health Program Planning: An Educational and Ecological Approach. 4th edition. NY: McGraw-Hill Higher Education.

Kobchai, W., Domrongsut, A., Punta, P., & Dokpoung, D. (2010). Behavior of using pesticide and cholinesterase blood level of riverhead agriculture group: A case study of Mong hilltribe, Phayao province. Journal of Health Science Research, 4(2), 36-46. [in Thai]

Naweerattanawittaya, W. (2008). Protection behavior of chemical pesticides among plant farmers of Botong sub-district, Botong district, Chonburi province. (independence study) Khon Kaen University. [in Thai]

Ratanasalanon, P. (2015). Effects of pesticide use on health of farmers in Song Phi Nong district. Suphanburi province. Suphan Buri: Song Phi Nong Public Health Office. [in Thai]

Ratcha, M., Somranjit, S., Sanhow, J., & Akkeesuwan, A. (2017). Protection behavior of chemical pesticides among farmers of Ban Thung Nang Khruan, Chalaesuddistrict, Thong PhaPhum district, Kanchanaburi province. Journal of Nursing, Public Health, and Education, 18(2), 84-94. [in Thai]

Sanprakhon, P., Nakagasian, P., & Rattanatanya, D. (2017). Effects of insecticide using prevention program on Thai farmers in Songphinong district, Suphanburi. Journal of Nursing and Health Care, 35(4), 89-97. [in Thai]

Suwannakit, C., & Prempree, K. (2016). The comparison of costs and Returns between Organic Rice Farming and Chemical Rice Farming. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 519-526. [in Thai]

Suwannarach, A., & Kessomboon, P. (2015). Pesticide hazards prevention among farmers of the Muang baeng Tam bon Health Promotion Hospital catchment areas, Nong ya plong sub-district, Wang Sa phung district, Loei province. Community Health Development Quarterly Khon Kaen University, 3(3), 394-407. [in Thai]

Wongsakoonkan, W., Mangkornthong, S., & Tiangthae, P. (2018). Pesticide usage behavior and cholinesterase blood level of farmers: Case study of Latlumkaeo district, Pathumthani province. Ratchaphruek Journal,16(1), 55-64. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-01