ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • เนติยา แจ่มทิม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
  • จันทร์ทิมา เขียวแก้ว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  • กันยารัตน์ อุบลวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
  • เอกรัตน์ ปิ่นประภาพันธ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ลาปาง

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, สื่อออนไลน์, สื่อสารสนเทศสุขภาพออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,269 คน ได้มาโดยการสุ่มตามสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุทั่วทุกภูมิภาค เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาพัฒนามาจาก Norman an Skinner 2006 , กรมสุขภาพจิต และ รศ.ดร.จันทิมา เขียวแก้ว คือ การประเมินสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์/สื่อสังคมออนไลน์ และการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศสุขภาพออนไลน์ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูป

ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นหญิง อายุระหว่าง 60-69 ปี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กันทางบวกคือการรับรู้ว่าชุมชนมีความเข้มแข็งกับการรับรู้ว่าอยู่ในสังคมที่สงบสุข ปลอดภัย การมีสุขภาพจิตและความพึงพอใจในชีวิตกับการมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

ผู้วิจัยเสนอแนะ ควรมีการส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุ โดยให้สังคม และครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ มีการหากลยุทธ์ที่เหมาะสมในการจูงใจให้ผู้สูงอายุมีการใช้สื่อออนไลน์ในการสืบค้นข้อมูลสุขภาพมากขึ้น และเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้แก่ผู้สูงอายุในการรู้เท่าทันสื่อ เนื่องจากบางครั้งข่าวสารที่ส่งมาไม่ได้ผ่านการคัดกรองความถูกต้องของข้อมูลก่อนส่งต่อไปยังผู้อื่น

References

กันตพล บันทัดทอง. 2557. พฤติกรรมการเครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจของกลุ่มคนผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กิรณา สมวาทสรรค์ กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ. 2559. การศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารและการส่งต่อข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุ. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์และ

ธันยาภรณ์ เหลี่ยวตระกูล. 2554. การเปิดรับ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจต่อการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้สูงอายุ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นภัสกร กรวยสวัสดิ์ . 2553. ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์. ห้องสมุดและสารสนเทศวิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี.(2560).รายงานสถิติประชากรและเคหะจังหวัดสุพรรณบุรี.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). รายงานสถิติแห่งปี. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร. (2557). การจัดการความรู้: แบบประเมินสุขภาพและปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ.เข้าถึงได้จาก www.hiso.or.th/hiso/picture/.../SelfEvaluationHealth.do

ปิยวัฒน์ เกตุวงศา ศุทธิดา ชวนวัน. 2558. ใครเป็นใครบนเครือข่ายสังคมออนไลน์: ความหลากหลายทางคุณลักษณะและพฤติกรรม. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทลัยมหิดล.

รัตนา บุญพา. 2562.การสนับสนุนทางสังคมและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่อาศัยอยู่ตามลำพังในชุมชน. วารสารสภาการพยาบาล. 34 (32). 112-126.

Boukeaw P, Teungfung P. 2016. Health care and health status of Thai aging. Journal of the Association of Researchers. 21(2).94-109.

David K. et al. 2014. eHealth Literacy Interventions for Older Adults: A Systematic Review of the Literature. Articles from Journal of Medical Internet Research are provided here courtesy of Gunther Eysenbach.

Norman, C. D. & Skinner, H. A. (2006). EHEALS: The eHealth literacy scale. Journal of Medical Internet Research, 8(4), 27,1-7.

Robb M. and Shellenbarger T. 2014. Influential Factors and Perceptions of eHealth Literacy among Undergraduate College Students. OJNI V. 18 N. 3.

RTI International. 2011. Health Literacy Interventions and Outcomes: An Updated Systematic Review. University of North Carolina Evidence-based Practice Center Research Triangle Park, North Carolina.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-01