สมรรถนะและความพึงพอใจของพยาบาลเวชปฏิบัติที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ
คำสำคัญ:
หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ, พยาบาลเวชปฏิบัติ, สมรรถนะ, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาของสมรรถนะและความพึงพอใจของพยาบาลเวชปฏิบัติที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป, แบบประเมินสมรรถนะและแบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 40.65 ปี (S.D.= 6.5) ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานหลังการศึกษาระดับปริญญาตรีเฉลี่ยอยู่ที่10.99 ปี (S.D.= 4.95) และประสบการณ์ปฏิบัติงานในระดับปฐมภูมิ เฉลี่ยอยู่ที่ 10.44 ปี (S.D. = 8.15) โดยพบว่าส่วนมากมีประสบการณ์ปฏิบัติงานในระดับปฐมภูมิ 1-5 ปี (39.5%) ระดับสมรรถนะพยาบาลเวชปฏิบัติที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิส่วนใหญ่มีสมรรถนะอยู่ในระดับดี (67.31%) เมื่อจำแนกรายด้านพบว่า ด้านสมรรถนะด้านการรักษาโรคเบื้องต้นมีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด มีสมรรถนะในระดับดีมาก (= 4.11, S.D.= .38) รองลงมาคือ ด้านการมีทักษะพิเศษในการพยาบาลเฉพาะทางคลินิก ในผู้ป่วยกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.06, S.D.= 0.43) ด้านที่น้อยที่สุดคือ ด้านความสามารถในการพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเฉพาะโรคโดยใช้ หลักฐานเชิงประจักษ์ ( = 3.77, S.D.= 0.48) และพบว่าระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติอยู่ในระดับมาก( = 3.81, S.D.= 0.48) จากผลการศึกษาจึงเป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลที่ปฏิบัติงานหน่วยบริการระดับปฐมภูมิให้มีการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติงานและพัฒนาคุณภาพการบริการ
References
ทัศนา บุญทอง, สุปราณี อัทธเสรี, นัทธมน ศิริกุล. (2550). บทบาทของพยาบาลเวชปฏิบัติต่อการรักษาโรคเบื้องต้นในการให้บริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ. วารสารสภาการพยาบาล, 22(4). 24-32
สภาการพยาบาล. (2013). Guide nurses working in Primary care unit. จุดทองการพิมพ์.กรุงเทพ.
สากร วิบูลชัย, ชาติ ไทยเจริญ, มลฤดี แสนจันทร์. (2557). สมรรถนะของพยาบาลเวชปฏิบัติที่สำเร็จการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) วิทยาลัยศรีมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 7(2). 248-260
สุวรรณา จันทร์ประดิษฐ. (2555). คุณภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป : กรณีศึกษาภาคตะวันออก. วารสารสภาการพยาบาล, 27(1). 25-38
อติญาณ์ ศรเกษตริน, อรวรรณ สัมภวมานะและกาญจนา สุวรรณรัตน์. (2010). การปฏิบัติงานตมบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการปฐมภูมิ. วารสารกองการพยาบาล. 37(3), 52-63
Charlton, C., R., Dearing, K., S., Berry, J., D., & Johnson, M., J. (2008). Nurse practitioners’ communication styles and their impact on patient outcomes: An integrated literature review. Journal of the American Academy of Nurse Practitioners. 20, 382–388.
Cowin, L., Hengstberger-Sims, C., Eagar, S., Gregory, L., Andrew, S., & Rolley, J. (2008). Competency measurements: testing convergent validity for two measures. Journal of Advance Nursing. 64(3), 272–277.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว