ผลการส่งเสริมปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ งานผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีประจันต์
คำสำคัญ:
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ, การคาสายสวนปัสสาวะ, การส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาลบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลการส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกัน การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจากการใส่สายสวนปัสสาวะ (Catheter Associated Urinary Tract Infection:CAUTI) งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีประจันต์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยในที่มีการคาสายสวนปัสสาวะ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกัน CAUTI ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2559 - กันยายน 2560 และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2560 - กันยายน 2561 เปรียบเทียบผลลัพธ์จากอุบัติการณ์ CAUTI และระยะเวลาการคาสายสวนฯก่อนเกิด CAUTI ของทั้งสองกลุ่มโดยใช้สถิติ T - test
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกัน CAUTI ร้อยละ 73.75 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีระยะเวลาการคาสายสวนเฉลี่ย 8.59 วัน กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ร้อยละ 77.50 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีระยะเวลาการคาสายสวนเฉลี่ย 7.64 วัน โดยกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกัน CAUTI พบอัตราการเกิด CAUTI เท่ากับ 2.55:1,000 วัน คาสายสวนปัสสาวะ ร้อยละ 55.56 เป็นเพศหญิง มีระยะเวลาการคาสายสวนเฉลี่ย 43.89 วัน และมีระยะเวลาการ คาสายสวน ก่อนการเกิด CAUTI 29.11 วัน (S.D.= 22.44) กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการพยาบาลตามปกติพบอัตราการเกิด CAUTI เท่ากับ 2,07:1,000 วันคาสายสวนปัสสาวะ โดยร้อยละ 42.86 เป็นเพศหญิง มีระยะเวลาการคาสายสวนเฉลี่ย 40.71 วัน และมีระยะเวลาการคาสายสวนก่อนการเกิด CAUTI 5.29 วัน (S.D. = 1.70) ผลการเปรียบเทียบระยะเวลาการคาสายสวนฯก่อนเกิด CAUTI ของทั้งสองกลุ่มพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) แต่พบว่าอุบัติการณ์ CAUTI แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ (P > 0.05)
สรุปและข้อเสนอแนะ การส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกัน CAUTI ช่วยให้ยืดระยะเวลาการคาสายสวนก่อนการติดเชื้อได้นานขึ้น ดังนั้นทีมป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลและกลุ่มการพยาบาล ควรจัดทีมติดตาม กำกับการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกัน CAUTI ในผู้ป่วยที่คาสาย สวนปัสสาวะเป็นระยะเวลานาน และหามาตรการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกัน CAUTI อย่างต่อเนื่อง
References
วรางคณา สุเมธพิมลชัย สุรสีห์ พร้อมมูลและภัทรา คูระทอง . (2554). การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ใหญ่. Journal of the Nephrology Society of Thailand, 17 (3), 5- 15.
ศศิธร แสนศักดิ์ . (2557). การป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะในผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 23 (2), 323 – 333.
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (2551). Patient safety goals: SIMPLE. นนทบุรี: ปรมัตถ์การพิมพ์.
สุพัตรา อุปนิสากร. (2555). การป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะผู้ป่วยที่เ ข้ารับการรักษาในไอซียูอายุรกรรม.วารสารสภาการพยาบาล, 27 (1), 49 - 62.
สมหวัง ด่านชัยวิจิตร และคณะ . (2554). รายงานการวิจัยเรื่องการป้องกันและ ควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ผลกระทบของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลศิริราช.
งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. (2559). สรุปผลการดำเนินงานปี 2556-2558. สุพรรณบุรี:โรงพยาบาลศรีประจันต์
Ribeiro, S. (2015). Nursing management of urinary tract infections. Nursing older people, 27(7), 24-29.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว